3 ท่าเคาะปอดเมื่อลูกมีเสมหะ

อาการไอ และมีเสมหะ เป็นหนึ่งในอาการป่วยยอดฮิตที่ลูกน้อยเป็นอยู่ประจำ คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจรู้สึกกังวลใจเวลาที่ลูกน้อยไม่สบายและไม่รู้ว่าจะช่วยลูกเอาเสมหะนั้นออกมายังไง ยิ่งในเด็กเล็กที่ยังสั่งน้ำมูกเองไม่ได้ ทำให้เสมหะนั้นค้างอยู่ วัฒนแพทย์จึงขอแนะนำวิธีที่ระบายเสมหะให้เจ้าตัวน้อย วิธีนั้นก็คือการ “เคาะปอด”



การ "เคาะปอด" คืออะไร

การเคาะปอด เป็นการใช้ฝ่ามือทำลักษณะเป็นอุ่ง แล้วเคาะไปบนบริเวณหลัง หรือหน้าอกเบาๆ เป็นจังหวะเพื่อให้เกิดการสั่นสะเทือนผ่านผนังทรวงอกลงไปถึงแขนงหลอดลมและปอด มีผลทำให้เสมหะหลุดจากหลอดลม เป็นการกระตุ้นให้เจ้าตัวน้อย ไอ หรือระบายเสมหะออกมาได้ แต่ก่อนจะเคาะก็ต้องรู้ไว้ก่อนว่าควรจะเคาะก็ต่อเมื่อลูกมีอาการ ไอ มีเสมหะมาก หายใจเสียงดังครืดคราด และลูกยังไม่สามารถระบายเสมหะได้ด้วยตนเอง

การวางมือสำหรับท่าเคาะปอด


 3 ท่าเคาะปอดเมื่อลูกมีเสมหะ

ท่าที่1 อุ่มลูกหันหน้าเข้าตัวในเด็กเล็ก หรือ นั่งโดยวางหมอนหนุนไว้ที่หน้าอกในเด็กโต

อุ้มลูกให้หันหน้าเข้าหาอกคุณพ่อคุณแม่ ให้ศีรษะลูกพาดบนไหล่พ่อแม่หรือแนนลำตัวในเด็กเล็ก ส่วนเด็กโตนั้นให้นั่งหันหน้าออกจาก พ่อแม่แล้วใช้หมอนหนุนไว้ที่หน้าอกโน้มตัวไปข้างหน้า แล้วเคาะด้านหลังส่วนบนเหนือกระดูกสะบักขึ้นไป หลีกเลี่ยงการเคาะบริเวณกระดูกสะบัก


 

ท่าที่ 2 จัดท่านอนหงาย

จัดท่านอนหงาย ให้ศรีษะหนุนหมอน ใช้ผ้าบางรองบริเวณหน้าอก เคาะบริเวณระดับไหปลาร้าถึงใต้ราวนม


 

ท่าที่ 3 จัดท่าให้ลูกนอนตะแคง

จัดท่าให้ลูกนอนตะแคง ยกแขนลูกขึ้นไปข้างหน้าเล็กน้อย แล้วเคาะบริเวณเหนือชายโครงด้านข้าง ต่ำจากรักแร้ลงมาเล็กน้อย


โดยในเวลาที่เคาะปอดในแต่ละท่า ให้หาผ้าบางๆ มาวางในตำแหน่งที่จะเคาะด้วยนะคะ จะได้ช่วยลดแรงกระแทกลงได้ ลูกจะได้ไม่เจ็บค่ะ และที่สำคัญก็มีข้อที่ควรระวังด้วยนะคะ ควรสังเกตอาการของลูกให้ดี เช่น ถ้าลูกเจ็บหรือปวดบริเวณที่เคาะ หรือมีประวัติการกระแทกที่หน้าอก มีอาการหอบเหนื่อยมากขึ้น ริมฝีปากซีดคล้ำหายใจจมูกบาน ร้องไห้งอแงมากกว่าปกติ ให้หยุดก่อนนะคะ เพราะอาจเป็นอันตรายได้ และแนะนำเวลาเคาะให้ใช้อุ้งมือ ไม่ใช่ใช้ฝ่ามือเคาะ ต้องเคาะเป็นจังหวะสม่ำเสมอ และใช้เวลาเคาะแต่ละท่านาน 1- 3 นาที ค่ะ ทั้งนี้การเคาะเป็น 1 ในวิธีการที่ช่วยบรรเทาอาการให้ลูกน้อยจากเสมหะได้ แต่หากอาการป่วยของลูกน้อยไม่ทุเลาลง การไปปรึกษาคุณหมอที่โรงพยาบาลจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดนะคะ

 


"ลูกป่วยก็อุ่นใจ" วัฒนแพทย์ ดูแลด้วยใจ ด้วยแพทย์เฉพาะทาง


 

 

แพ็กเกจและโปรโมชั่น

วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี (IPD Vaccine)
2,899

บาท

ดูรายละเอียด
แพ็กเกจตรวจภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
2,499

บาท

ดูรายละเอียด
แพ็กเกจวัคซีนเด็ก ชุดเหมาจ่าย
6,599

บาท

ดูรายละเอียด

บทความเพื่อสุขภาพ

กิจกรรมบำบัด สำคัญอย่างไรสำหรับเด็กๆ
กิจกรรมบำบัด สำคัญอย่างไรสำหรับเด็กๆ
พัฒนาประสาทสัมผัสองค์รวมของเด็ก ด้วยกิจกรรมบำบัด

กิจกรรมบำบัดคืออะไร? 

กิจกรรมบำบัดเป็นการบำบัดรักษา เพื่อฟื้นฟูความสามารถในการทำกิจวัตรป...
ดูรายละเอียด

ทำอย่างไรเมื่อลูกติดไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ A
ทำอย่างไรเมื่อลูกติดไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ A
ไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1 เอ็น1 (Influenza A (H1N1)

เป็นโรคที่แพร่ติดต่อระหว่างคนสู่คน พบที่ประเทศเม็กซิโก และสหรัฐอเมริกา แล้วแพร่ไปยังอีกหลา...
ดูรายละเอียด

3 ท่าเคาะปอดเมื่อลูกมีเสมหะ
3 ท่าเคาะปอดเมื่อลูกมีเสมหะ

อาการไอ และมีเสมหะ เป็นหนึ่งในอาการป่วยยอดฮิตที่ลูกน้อยเป็นอยู่ประจำ คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจรู้สึกกังวลใจเวลาที่ลูกน้อยไม่สบายและไม่รู้ว่าจะช่วยลูกเอาเสมหะนั้น...
ดูรายละเอียด

โรคหอบหืดในเด็ก สังเกตจากอะไร?
โรคหอบหืดในเด็ก สังเกตจากอะไร?
จะรู้ได้อย่างไร ว่าลูกเป็นโรคหอบหืด การสังเกตอาการ และการรักษา

โรคหอบหืด คืออะไร?

โรคหืด คือ โรคที่หลอดลมมีการตีบแคบฉับพลัน เนื่องจากหลอดลมมีก...
ดูรายละเอียด

จะเป็นอย่างไร หากลูกไม่ได้รับวัคซีนตามช่วงอายุ
จะเป็นอย่างไร หากลูกไม่ได้รับวัคซีนตามช่วงอายุ
วัคซีนหลักสำหรับลูกน้อยนั้นสำคัญยังไง ทำไมถึงต้องฉีดให้ตรงวัย และตรงเวลา

การฉีดวัคซีนเด็กวัยแรกเกิดจนถึงอายุ 12 ปี นับว่าเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ผู้ปกค...
ดูรายละเอียด

เมนูแนะนำ เมื่อลูกน้อยเป็นโรค มือ เท้า ปาก
เมนูแนะนำ เมื่อลูกน้อยเป็นโรค มือ เท้า ปาก
โรคมือเท้าปาก (Hand Foot Mouth Disease) 

เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส สายพันธุ์ที่พบบ่อย ได้แก่ Coxsackievirus A16 และ Enterovirus 71 ซึ่งโรคนี้มั...
ดูรายละเอียด

สถิติการป่วยของเด็กในช่วง 3 เดือนที่
สถิติการป่วยของเด็กในช่วง 3 เดือนที่ "วัฒนแพทย์"
สถิติการป่วยของเด็กในช่วง 3 เดือนที่ "วัฒนแพทย์"

เมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูฝนและเปิดเทอมไปเป็นที่เรียบร้อย สถิติผู้ป่วยที่เป็นเด็กจึงมีจำนวนเพิ่มขึ้น โรงพยาบาลวั...
ดูรายละเอียด

อาการแพ้อาหารในเด็ก เรื่องเล็กๆที่ไม่ควรละเลย
อาการแพ้อาหารในเด็ก เรื่องเล็กๆที่ไม่ควรละเลย

เมื่อลูกน้อยอายุ 4-6 เดือน เป็นวัยที่ควรได้รับอาหารเสริมนอกเหนือจากนมแม่ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่อาจมีความกังวลเรื่องการแพ้อาหารในเด็กเล็ก ไม่มั่นใจว่าลูกแพ้อาหารอะไ...
ดูรายละเอียด

ภาวะซีด หรือโลหิตจางในเด็ก
ภาวะซีด หรือโลหิตจางในเด็ก
ภาวะซีด หรือโลหิตจางในเด็ก

ปัญหาภาวะซีดในเด็ก ถือเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน ซึ่งอาจเกิดจากการขาดสารอาหาร พ่อแม่อาจแปลกใจว่าทำไมลูกถึงมีภาวะขาดสารอาหารไ...
ดูรายละเอียด

วัคซีนเสริมสำหรับเด็ก สำคัญเหมือนกับวัคซีน หลักหรือไม่
วัคซีนเสริมสำหรับเด็ก สำคัญเหมือนกับวัคซีน หลักหรือไม่
วัคซีนเสริมสำหรับเด็ก สำคัญเหมือนกับวัคซีน หลักหรือไม่

 ปัจจุบันวัคซีนสำหรับลูกน้อยมีทั้งหมด 2 กลุ่ม คือ วัคซีนที่อยู่ในแผนเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค ของ...
ดูรายละเอียด

MIS-C คืออะไรทำไมอันตรายถึงชีวิด
MIS-C คืออะไรทำไมอันตรายถึงชีวิด
MIS-C คืออะไร ทำไมอันตรายถึงชีวิต

MIS-C มักเกิดขึ้น 2-6 สัปดาห์หลังจากเด็กและวัยรุ่นหายป่วยจากโควิด-19 อายุเฉลี่ยของเด็กที่มีรายงานคือ 8 ปี นอกจากน...
ดูรายละเอียด

ภัยร้ายของลูกน้อย โรคไวรัส RSV
ภัยร้ายของลูกน้อย โรคไวรัส RSV

 

...

ดูรายละเอียด