โปรแกรมตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (Cervical Cancer Risk Screening)
ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ตรวจก่อนอุ่นใจกว่า
“มะเร็งปากมดลูก” เป็นหนึ่งในโรคที่ผู้หญิงมีโอกาสเป็นได้เยอะเป็นอันดับต้นๆ รองจากมะเร็งเต้านม คือ โดยมีอัตราความเสี่ยงมากถึงประมาณ 90 % หากไม่ได้รับวัคซีนป้องกัน โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์หรือแต่งงานแล้วจะมีความเสี่ยงมากยิ่งขึ้น โดยปกติแล้วสามารถหายได้เองในระยะเวลา 1 ถึง 2 ปี อย่างไรก็ตามด้วยความเสี่ยงที่สูงจึงต้องมีการฉีดวัคซีน HPV หรือทำการตรวจร่างกายเป็นประจำ
มะเร็งปากมดลูกมาจากไหน
เกิดจากเชื้อไวรัส HPV ซึ่งโดยปกติแล้วมักมาจากการมีเพศสัมพันธ์อย่างไรก็ตามยังสามารถเกิดจากสาเหตุอื่นได้ด้วย เช่น การสูบบุหรี่ ทานยาคุมกำเนิดมาเป็นเวลายาวนานกว่า 5 ปี เคยคลอดบุตรมาแล้วหลายครั้ง เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในเซลล์ในช่วงระยะก่อนมะเร็งมดลูก หรือเคยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคเริม โรคซิฟิลิส และโรคหนองใน เป็นต้น
สัญญาณของมะเร็งปากมดลูก
ปกติแล้วเวลาเชื้อ HPV เข้าไปสู่ร่างกายจะไม่แสดงอาการใด ๆ ออกมาจนกว่าจะเข้าสู่ระยะลุกลามที่เกินเยียวยาเสียแล้ว โดยสังเกตได้จากอาการ ดังนี้
- มีเลือดออกจากช่องคลอด บางคนอาจจะหมดประจำเดือนไปแล้ว แต่ยังมีเลือดออกจากช่องคลอด หรือมีเลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งไม่เคยเป็นมาก่อน
ประจำเดือนมานานผิดปกติ
ตกขาวมีเลือดปนออกมา และมีกลิ่นเหม็นคาว
รู้สึกเจ็บ หรือปวดในช่องคลอดขณะมีเพศสัมพันธ์
กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ หรือปวดปัสสาวะบ่อย
นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจจะมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น เบื่ออาหาร ปัสสาวะมีเลือดปนออกมา ปวดกระดูก
การตรวจคัดกรอง
- การตรวจมะเร็งปากมดลูกชนิดพิเศษ ThinPrep Pap Test คือ การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยเก็บตัวอย่างเซลล์ด้วยของเหลว สามารถค้นหาเซลล์มะเร็งระยะแรกเริ่มได้ดีกว่าการตรวจแปปสเมียร์แบบดั้งเดิมถึง 65%
- ตรวจอัลตร้าซาวด์ อุ้งเชิงกราน ช่วยเช็กความเสี่ยงโรคร้าย อย่าง ถุงน้ำรังไข่, เนื้องอกรังไข่, เนื้องอกในมดลูก หรือก้อนเนื้อภายในอุ้งเชิงกราน
ตรวจเลือดหาสารบ่งชี้มะเร็ง CA-125 ผู้ที่เป็นมะเร็งรังไข่หลายคนอาจมีโปรตีน CA-125 อยู่ในเลือดจำนวนมาก การตรวจพบโปรตีนชนิดนี้จึงอาจเป็นข้อมูลประกอบคำวินิจฉัยมะเร็งรังไข่
ควรเริ่มตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เมื่ออายุ 25 ปีขึ้นไป และตรวจซ้ำทุกๆ 2-3 ปี
ผู้หญิงที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อไปนี้ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ซึ่งได้แก่
ปวดท้องน้อยบ่อย ท้องผูก ท้องอืด แน่นท้องเป็นประจำ
ผู้ที่มีประวัติบุคคลในครอบครัวเคยป่วยเป็นมะเร็ง
ผู้ที่เว้นว่างจากการตรวจมาระยะหนึ่งแล้ว
เคยมีเพศสัมพันธ์แล้ว หรือ เปลี่ยนคู่นอนบ่อย
มีตกขาวผิดปกติ หรือ มีเลือดออกผิดปกติ
มีอาการเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์
มีประจำเดือนมาก่อนอายุ 12 ปี หรือหมดประจำเดือนหลังอายุ 55 ปี
วัยหมดประจำเดือน
รับประทานฮอร์โมนเพศหญิง หรือ ยาคุมกำเนิดเป็นระยะเวลานาน
ผู้ที่มีพฤติกรรมหรือโรคประจำตัวที่ทำให้ภูมิต้านทานต่ำ เช่น สูบบุหรี่ เป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง