ลูกร้องตอนกลางคืน เพราะไม่สบาย หรือเป็นโคลิค

ลูกร้องตอนกลางคืน เพราะไม่สบาย หรือเป็นโคลิค



เด็กร้องไห้ มีสาเหตุมาจากอะไร

การที่ลูกรักของคุณพ่อและคุณแม่มือใหม่มีอาการร้องไห้ไม่หยุด เด็กบางคนอาจร้องไห้เป็นเวลานาน หรือบางคนอาจร้องแค่เพียงครู่เดียว ซึ่งการร้องไห้ของเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกันออกไป เพราะเด็กยังไม่สามารถสื่อสารออกมาเป็นคำพูดได้ รวมทั้งการร้องไห้ยังเป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการการเจริญเติบโตของเด็ก นอกจากนี้การร้องไห้ของเด็กยังเป็นอีกหนึ่งสัญญาณของอาการเจ็บป่วยของโรคบางอย่างได้ โดยสาเหตุที่ทำให้เด็กร้องไห้ ได้แก่


เด็กร้องไห้เนื่องจากอาการเจ็บป่วย

ต่อมาคืออาการเจ็บป่วย เช่น ไม่สบาย ตัวร้อน ปวดหัว ท้องอืด เป็นต้น ซึ่งอาการเหล่านี้สามารถส่งผลทำให้เด็กร้องไห้ได้ คุณพ่อและคุณแม่ควรตรวจสอบและหมั่นสังเกตความผิดปกติทางร่างกายลูกอย่างสม่ำเสมอ เช่น การใช้ที่วัดไข้ดิจิทัลวัดอุณหภูมิลูกเพื่อดูว่าลูกตัวร้อนและไม่สบายหรือเปล่า หากพบว่ามีอาการดังกล่าวควรพาลูกไปพบแพทย์ในทันที


วิธีสังเกตอาการเวลาลูกร้องว่าเป็นการร้องโคลิคหรือไม่

หากลูกร้องเพราะป่วย จะสามารถสังเกตได้จากที่ลูกมักจะร้องทั้งวัน ไม่ได้เป็นแค่บางช่วงเวลา ร่วมกับมีอาการต่างๆ เช่น ไข้ อาเจียน ท้องเสีย ไม่กินนม น้ำหนักไม่ขึ้น เป็นต้น  แต่หากเด็กร้องโคลิคจะร้องแบบไม่ทราบสาเหตุ  ปลอบให้หยุดได้ยาก   ช่วงไม่ร้องก็จะปกติ กินนมดี สบายตัว เล่นได้ แต่พอถึงช่วงที่ร้องก็จะร้องเสียงดัง เสียงสูง ร้องไม่หยุดเป็นชั่วโมง หน้าท้องเกร็ง  แต่อาการจะเกิดเป็นช่วงเวลา

โดยที่พบกันบ่อยที่สุดจะเป็นช่วงเย็น ช่วงค่ำ โดยอาการร้องโคลิคสามารถพบได้ตั้งแต่เด็กแรกเกิด พบบ่อยมากสุดในเด็กอายุช่วง 4 - 6 สัปดาห์ และอาการมักจะเป็นไม่เกินอายุ 5 เดือน แต่หากลูกร้องมาก ร่วมกับมีอาการต่างๆ อาจต้องปรึกษากุมารแพทย์เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุ ทางแก้ไขและรักษาต่อไป


ขณะเด็กร้อง ควรทำอย่างไร? ดูแลเด็กอย่างไร?

การให้เด็กหยุดร้องในเด็กที่มีอาการโคลิกนั้นค่อนข้างยากเด็กอาจหยุดร้องเป็นพักๆ หากเด็กระบายลมออกมาได้ หรือมีการขยับของลำไส้ อาการจะดีขึ้น อย่างไรก็ตามขณะเด็กร้อง ให้ทำดังนี้

  1. ดูว่าเด็กร้องเพราะหิวนมหรือไม่ เพราะเด็กที่หิวนมก็จะร้องกวนพอได้กินนมจะหยุดร้อง
  2. อย่าให้เด็กอยู่ในที่ที่มีสิ่งกระตุ้น เช่นเสียงดัง แสงรบกวน
  3. จับเด็กอุ้มพาดบ่า เด็กจะรู้สึกสบายขึ้น และช่วยดันลมในท้องออกมาด้วย
  4. นวดเด็ก หรือเขย่าเบาๆไปมา ลูบหลังให้
  5. เปิดเพลงเบาๆให้ฟัง
  6. อย่าปล่อยให้เด็กร้องนานโดยไม่เข้าไปดูแล
  7. หาคนช่วยดูเด็ก เพื่อแม่จะได้พักบ้าง เช่น คุณพ่อช่วย หรือพี่เลี้ยงมาสลับ ไม่เช่นนั้นคุณแม่จะเครียดมาก 

เมี่อไรจะไปพบแพทย์ควรนำเด็กพบแพทย์/กุมารแพทย์/หมอเด็ก

  1. เด็กมีอาการร้องมาก ร้องนานในครั้งแรกซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาอาการ หรือความเจ็บป่วยอื่นๆที่อาจทำ
  2. ให้เกิดอาการคล้ายโคลิก ซึ่งแพทย์ขะซักประวัติอาการตรวจร่างกาย หรือหาวิธีการวินิจฉัยโรคอื่นๆ เพื่อตัดโรคที่ทำให้เกิดอาการคล้าย
  3. โคลิกออกไป เพื่อให้เด็กได้รับการรักษาที่ถูกต้อง
  4. เด็กมีการร้องมาก ร้องเป็นพักๆ หรือมีอาการผิดปกติอื่น เช่นมีไข้ตัวร้อน อาเจียน อุจจาระผิดปกติ เช่น อุจจาระมีสีแดงเหมือนแยม (Cerrant jelly stool) ซึ่งอาจเป็นอาการของลำไส้กลืนกัน การรีบไปพบแพทย์โดยเฉพาะเมื่อเริ่มต้นมีอาการ จะทำให้การรักษาง่ายขึ้นอาจไม่ต้องผ่าตัด
  5. เด็กมีอาการร้องเลียนแหบ มีอาการหายใจผิดปกติ อาจต้องระวังเรื่องการสำลักสิ่งแปลกปลอม ต้องรีบพาแพทย์/โรงพยาบาลทันที/ฉุกเฉิน