เพราะหัวใจ ต้องการคนดูแล
เพราะหัวใจ ต้องการคนดูแล
ลองมาสำรวจตัวเองกันสักหน่อยว่า คุณทำสิ่งเหล่านี้บ้างหรือไม่
- 1.เครียดจากการทำงาน หรือการใช้ชีวิต
- 2.นอนไม่หลับ หลับไม่สนิท พักผ่อนไม่เพียงพอ
- 3.มีบุหรี่และแอกอฮอล์เป็นเพื่อนคู่ใจ
- 4.ออกกำลังกายน้อยกว่า 3 ครั้ง ต่อสัปดาห์
- 5.มีคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหัวใจ
หากคำตอบของคุณคือ “ใช่”
คุณก็เป็นคนหนึ่งที่เสี่ยงเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจโดยไม่รู้ตัว เพราะปัจจุบันโรคหัวใจไม่ใช่สิ่งที่ไกลตัว โรคหัวใจเป็นภัยเงียบที่สามารถคร่าชีวิตคุณและคนที่รักได้โดยไร้สัญญาณเตือน การตรวจสุขภาพหัวใจจึงเป็นทางเลือกที่จะช่วยให้คุณรู้ทันโรคหัวใจแม้ว่ายังไม่มีอาการใดๆ ก็ตาม
ทำไม? ต้องตรวจสุขภาพหัวใจ
เพราะโรคหลายโรคมักไม่แสดงอาการในระยะเริ่มต้น กว่าจะรู้ได้ว่าเป็นส่วนใหญ่ก็มีระยะที่รุนแรง หรือยากต่อการรักษาแล้ว การตรวจสุขภาพประจำปี จะช่วยให้เราพบปัญหาที่อาจกลายเป็นอันตรายได้ตั้งแต่ในระยะแรกเริ่ม การตรวจสุขภาพหัวใจก็เช่นกัน จะช่วยให้เรารู้ทันความเสี่ยง หาพบแนวโน้มที่จะเป็นโรคหัวใจในอนาคต จะได้ป้องกันและดูแลให้ดี หรือหากตรวจเจอความผิดปกติตั้งแต่เริ่มต้น... การรักษาก็ย่อมง่ายกว่าตอนที่เราตรวจเจอในระยะที่เป็นมากๆ แล้ว
การตรวจหัวใจมีกี่วิธี
- 1.ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ หรือ EKG เป็นการตรวจดูว่าในแต่ละจังหวะการเต้นของหัวใจมีความผิดปกติหรือไม่ โดยการติดตัวรับสัญญาณบนผิวหนังบริเวณหน้าอก เป็นการตรวจที่ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด หรืออันตราย สามารถตรวจได้ทุกเพศทุกวัย
- 2.ตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง หรือ ECHO เป็นการตรวจที่ใช้หลักการคล้ายกับการอัลตร้าซาวน์ คือการส่งคลื่นเสียงที่ปลอดภัยเข้าไปในทรวงอกแล้วรับเสียงที่สะท้อนออกมาไปแปลเป็นภาพให้เห็นบนจอ ซึ่งจะแสดงถึงรูปร่าง ขนาด การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ รวมไปถึงลิ้นหัวใจว่ามีการทำงานเป็นปกติหรือไม่
- 3.ตรวจสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย หรือ EST เป็นการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะออกกำลังกายด้วยการเดินบนสายพาน หรือปั่นจักรยาน เพื่อคัดกรองการอาการผิดปกติต่างๆ เช่น อาการหายใจลำบาก อาการเจ็บแน่นหน้าอก การเต้นของหัวใจผิดปกติ หรือการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เพื่อวินิจฉัยและจำแนกโรคได้อย่างแม่นยำ
- 4.ตรวจหาหินปูนและการตีบของหลอดเลือดหัวใจ (CT Calcium Scoring) เป็นการตรวจดูปริมาณหินปูนในหลอดเลือดโดยใช้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง เพื่อดูความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจในอนาคต ลดโอกาสเสียชีวิตฉับพลัยจากโรคหัวใจในอนาคต
- 5.ตรวจเส้นเลือดแดงด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CTA) เป็นวิธีการตรวจดูเส้นเลือดของหัวใจว่ามีหลอดเลือดหัวใจตีบ-ตัน หรือความผิดปกติอื่นๆหรือไม่ โดยผู้เข้ารับการตรวจจะต้องมีการฉีดสารทึบรังสีก่อนการตรวจ เพื่อช่วยให้แพทย์สามารถประเมินอาการได้อย่างแม่นยำ เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่สามารถตรวจด้วยวิธีเดินสายพานได้
ใครบ้างที่ควรเข้ารับการตรวจ
- 1.ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปทั้งชายและหญิง
- 2.ผู้ที่มีประวัติเป็นโรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง หรือความดันโลหิตสูง
- 3.ผู้ที่ชื่นชอบการทานอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม
- 4.ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ รวมทั้งผู้ที่ใกล้ชิดกับบุคคลที่สูบบุหรี่
- 5.ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจ
- 6.ผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอ นอนหลับไม่สนิท และรู้สึกอ่อนเพลียเป็นประจำ
โรงพยาบาลวัฒนแพทย์ ตรัง "ดูแลหัวใจ ด้วยแพทย์เฉพาะทาง"