สิ่งที่คุณแม่กังวลเมื่อตั้งครรภ์หนีไม่พ้นเรื่องของภาวะเสี่ยงที่ส่งผลต่อลูกน้อยในครรภ์ ดังนั้นคุณแม่จึงต้องทำการฝากครรภ์เพื่อเฝ้าระวังภาวะเสี่ยงต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด รวมถึงภาวะเบาะหวานขณะตั้งครรภ์ของคุณแม่ที่ส่งผลต่อลูกน้อยในครรภ์โดยตรง ร้ายแรงที่สุดยังอาจส่งผลให้เด็กพิการและเสียชีวิตได้ด้วย
คุณแม่จึงจำเป็นต้องฝากครรภ์เพื่อเฝ้าระวังปัญหาดังกล่าว โดยแพทย์จะทำการตรวจคัดกรองเบาหวานตั้งแต่ฝากครรภ์ในครั้งแรก โดยการเจาะเลือดเพื่อดูระดับน้ำตาล หลังจากนั้น 7 เดือน แพทย์จะทำการตรวจสอบความสามารถของร่างกายในการจัดการน้ำตาลว่าปกติหรือไม่ โดยในคนปกติหากไม่ได้ป่วยเป็นเบาหวานแต่มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคดังกล่าว เมื่อตั้งครรภ์มักแสดงอาการออกมา เนื่องจากในคนตั้งครรภ์จะมีการสร้างฮอร์โมนชนิดหนึ่งจากรกขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่ต้านอินซูลิน จึงทำให้คนที่ตั้งครรภ์มีน้ำตาลสูงมากกว่าคนปกติ ทั้งนี้เป็นกลไกของร่างกายที่ต้องการส่งน้ำตาลไปยังเด็กในครรภ์ เพื่อการเจริญเติบโต แต่ในคนที่มีแนวโน้มว่าจะป่วยเป็นโรคเบาหวาน หากตั้งครรภ์อาจเกิดเบาหวานขณะตั้งครรภ์ขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อตัวเด็กโดยตรง
เนื่องจากขณะตั้งครรภ์ ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน รกจะสร้างฮอร์โมนที่ออกฤทธิ์ต้านการทำงานของอินซูลิน ที่เรียกว่า ฮอร์โมนฮิวแมนพลาเซนต้าแลกโตรเจน (Human Placental Lactogen: HPL) หรือ ฮอร์โมน HPL
ทำให้เกิดภาวะดื้ออินซูลิน ซึ่งฮอร์โมนตัวนี้จะเพิ่มมากขึ้นในไตรมาสที่ 2 และไตรมาสที่ 3 ขณะตั้งครรภ์ ร่วมกับตับอ่อนของหญิงตั้งครรภ์ ไม่สามารถผลิตอินซูลินให้เพียงพอต่อความต้องการ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ส่งผลให้เกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์
อาการส่วนใหญ่จะเหมือนเบาหวานทั่วไป เนื่องจากหากระดับน้ำตาลในเลือดสูง ร่างกายจะขับน้ำตาลออกทางปัสสาวะ ทำให้
ซึ่งอาการจะให้เคียงอาการตั้งครรภ์ เพราะฉะนั้นสามารถตรวจเช็คได้จากการวัดระดับน้ำตาลในเลือด โดยการเจาะเลือดปลายนิ้วเพื่อประเมิน ที่สำคัญควรมีการตรวจเรื่องเบาหวานตั้งแต่มีการฝากครรภ์ครั้งแรก