รู้จัก RSV ภัยเงียบที่มาคู่กับหน้าฝน ของผู้ใหญ่

 รู้จัก RSV ภัยเงียบที่มาคู่กับหน้าฝน ของผู้ใหญ่



ในยุคที่โรคระบาดเกิดขึ้นบ่อยครั้ง การตระหนักถึงสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญมาก โดยเฉพาะโรคร้ายแรงบางโรคมักถูกมองข้ามในผู้ใหญ่ นั้นก็คือ โรค RSV โดยส่วนใหญ่มักถูกเข้าใจว่าเป็นโรคที่พบบ่อยในเด็กเท่านั้น แต่ในความเป็นจริง ผู้ใหญ่ ก็สามารถเป็นได้ และจะยิ่งอันตรายร้ายแรงมากขึ้นโดยเฉพาะผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีโรคประจำตัว


RSV โรคนี้ที่ผู้ใหญ่ก็ติดได้

RSV หรือ Respiratory Syncytial Virus เป็นไวรัสที่ทำให้เกิดการติดเชื้อทางเดินหายใจ ส่วนมากพบในเด็กเล็ก แต่ผู้ใหญ่ก็สามารถติดเชื้อได้ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้น หรือผู้ใหญ่ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหอบหืด โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นต้น ซึ่งอาจทำให้มีอาการรุนแรง เช่น ปอดอักเสบ หลอดลมฝอยอักเสบ จนถึงขั้นต้องนอนโรงพยาบาล หรืออาจเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันถึงขั้นเสียชีวิตได้เช่นกัน


การแพร่ระบาดของ RSV

โรค RSV มักจะแพร่ระบาดในช่วงฤดูหนาว ฤดูฝน โดยมีอาการคล้ายกับไข้หวัดใหญ่ ซึ่งสามารถแพร่เชื้อผ่านทางการไอหรือจาม ทำให้ไวรัสแพร่กระจายไปยังผู้คนรอบข้างได้ง่าย


อาการของโรค RSV ในผู้ใหญ่

อาการเบื้องต้น

ในผู้ใหญ่ อาการของโรค RSV มักคล้ายกับอาการหวัดธรรมดา เช่น มีไข้ ไอ และน้ำมูกไหล อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่มีภาวะแทรกซ้อน ผู้ป่วยอาจมีอาการหายใจลำบากหรือเหนื่อยง่าย

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

ผู้ใหญ่ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคปอดหรือโรคหัวใจ มีโอกาสสูงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดอักเสบหรือการขาดออกซิเจนได้


การป้องกันและการรักษาโรค RSV ในผู้ใหญ่

การรักษาโรค RSV ในผู้ใหญ่ยังไม่มีวิธีการรักษาเฉพาะเจาะจง ส่วนใหญ่จะเป็นการรักษาอาการ และระวังไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน


วัคซีนป้องกัน RSV สำหรับผู้ใหญ่

กลุ่มเสี่ยงที่ควรได้รับวัคซีนป้องกัน RSV

  1. ผู้ใหญ่ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป
  2. ผู้ใหญ่ที่มีอายุ 50 ถึง 59 ปี ที่มีความเสี่ยงต่อโรคที่เกิดจาก RSV
  3. ผู้ที่มีโรคประจำตัว โรคเรื้อรังต่อเนื่องที่เป็นอยู่ก่อน เช่น โรคปอดเรื้อรัง, โรคหัวใจและหลอดเลือดเรื้อรัง, เบาหวาน, โรคไต หรือ โรคตับเรื้อรัง

ประสิทธิภาพของวัคซีนป้องกัน RSV

  1. ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้สร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัส RSV ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ RSV
  2. ในกรณีที่ติดเชื้อ RSV ในผู้สูงอายุ จะช่วยลดความรุนแรงของโรคจากอาการไอ หายใจลำบาก ภาวะปอดอักเสบ และความเสี่ยงต่อการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล
  3. ป้องกันภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงจากการติดเชื้อ RSV เช่น ปอดบวม (pneumonia) และหลอดลมฝอยอักเสบ (bronchiolitis)
  4. ลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจาก RSV โดยเฉพาะในผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประจำตัวที่มีความเสี่ยงสูง

  5. จากการศึกษาในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป พบว่า ประสิทธิภาพต่อการป้องกันโรคทางเดินหายใจส่วนล่าง ที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อ RSV ครั้งแรกโดยเริ่มตั้งแต่ 15 วัน หลังฉีดวัคซีนอยู่ที่ 82.6% (ความเชื่อมั่น 96.95% ระหว่าง 57.9% ถึง 94.1%) และวัคซีนยังมีประสิทธิภาพต่อ RSV-LRTD ตลอดระยะเวลาติดตามผล พบว่าประสิทธิภาพของวัคซีนต่อการป้องกันโรคที่เกี่ยวข้องกับเชื้อ RSV-A และ RSV-B อยู่ที่ 84.6% และ 80.9% ตามลำดับ
  6. ประสิทธิภาพป้องกันการระบาดที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อ RSV คร้ังแรกแบ่งตามกลุ่มที่มีโรคประจำตัวร่วมอย่างน้อย 1 โรคโดยเริ่มตั้งแต่ 15 วัน หลังฉีดวีตซีน อยู่ที่ 94.6%
  7. สำหรับการสร้างภูมิคุ้มกันในผู้ใหญ่ที่มีอายุ 50 ถึง 59 ปีที่มีความเสี่ยงสูงขึ้นต่อโรคที่เกิดจาก RSV ประสิทธิภาพของวัคซีนในการกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันต่อ RSV-A และ RSV-B อยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ด้อยกว่า ซึ่งประสิทธิภาพของวัคซีนได้รับการยืนยันแล้ว

ข้อแนะนำในการฉีดวัคซีนป้องกัน RSV

  1. สามารถให้ Arexvy ร่วมกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิดเชื้อตายรวม 4 สายพันธุ์
  2. ควรพักดูอาการเพื่อสังเกตอาการแพ้หลังการฉีดวัคซีน
  3. ควรเลื่อนการฉีดวัคซีนออกไปในผู้ที่มีไข้สูงอย่างเฉียบพลันรุนแรง แต่ไม่จำาเป็นต้องเลื่อนการฉีดวัคซีนในกรณีที่มีการติดเชื้อเล็กน้อย เช่น ไข้หวัด
  4. เช่นเดียวกับวัคซีนอื่น ๆ การกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มเพื่อป้องกันอาจเกิดขึ้นในผู้รับวัคซีนบางคน ไม่ใช่ทุกคน
  5. ควรสังเกตปฏิกิริยาที่เกี่ยวข้องกับความวิตกกังวล รวมถึงอาการหมดสติ(เป็นลม) การหายใจหอบถี่ หรือปฏิกิริยาที่เกี่ยวข้องกับความเครียดที่อาจเกิดขึ้นในขั้นตอนการฉีดวัคซีน ดังนั้น ต้องระมัดระวังเพื่อหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บจากการเป็นลม

วัคซีนป้องกัน RSV สำหรับผู้ใหญ่สามารถฉีดได้ที่โรงพยาบาลวัฒนแพทย์ตรัง ซึ่งเป็นวิธีการป้องกันที่มีประสิทธิภาพในการลดความเสี่ยงของการติดเชื้อไวรัสนี้

สูงวัยอุ่นใจ ฉีดวัคซีนป้องกัน RSV

ราคา 8,130 บาท (1 เข็ม)

ราคานี้ยังไม่รวมค่าแพทย์ และค่าบริการโรงพยาบาล