กิจกรรมบำบัด สำคัญอย่างไรสำหรับเด็กๆ

พัฒนาประสาทสัมผัสองค์รวมของเด็ก ด้วยกิจกรรมบำบัด



กิจกรรมบำบัดคืออะไร? 

กิจกรรมบำบัดเป็นการบำบัดรักษา เพื่อฟื้นฟูความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน โดยส่งเสริมด้านพัฒนาการ เพื่อให้เด็กสามารถทำกิจกรรมต่างๆ และดำเนินชีวิตได้เต็มศักยภาพ โดยกิจกรรมบำบัดให้ความสำคัญกับ


  1. การกระตุ้นประสาทสัมผัสองค์รวม sensory integration ที่ประกอบไปด้วย
    1. การมองเห็น (Visual System)
    2. การได้ยิน (Auditory System)
    3. การรับสัมผัสทางผิวหนัง (Tactile System)
    4. การได้กลิ่น (Olfactory System)
    5. การรับรส (Gustatory System)
    6. การรับรู้ท่าทางของร่างกายผ่านข้อต่อ (Proprioception)
    7. การทรงตัว (Vestibular)

  2. การกระตุ้นพัฒนาการข้องกล้ามเนื้อมัดเล็กและมัดใหญ่
  3. การกระตุ้นพัฒนาการด้านภาษา
  4. การกระตุ้นการรับรู้ทางด้านสติปัญญาและสมาธิ

โดยกิจกรรมบำบัดจะช่วยให้เด็กสามารถใช้ประสาทสัมผัสได้อย่างคล่องแคล่วว่องไวและมีสมาธิมากยิ่งขึ้นโดย



สังเกตพฤติกรรมลูก เป็นแบบนี้บ่อยๆ แก้ได้ด้วย กิจกรรมบำบัด


พัฒนาการด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ประสาทสัมผัส กล้ามเนื้อ ภาษา และสมาธิ มีส่วนสำคัญต่อการทำกิจวัตรของเด็กเป็นอย่างมาก หากส่งผลให้การแสดงออกบางอย่างที่เราพบเห็นได้จากกิจวัตรประจำวันของเขา สามารถเป้นตัวช่วยบ่งบอกได้ว่า ลูกเราอาจกำลังต้องการ“กิจกรรมบำบัด” ที่จะมาช่วยด้านพัฒนาการของเขาให้ดียิ่งขึ้นได้ โดยผู้ปกครองสามารถสังเกตุจากพฤติกรรมง่ายๆ ดังนี้


  1. เด็กแสดงออกถึงความลำบากในการหยิบจับวัตถุชิ้นเล็ก เช่น การติดกระดุม
  2. แสดงออกในพฤติกรรม ที่ชอบผลักหรือแตะผู้อื่นแรงๆ โดยไม่มีเหตุผล
  3. มีการรับรู้ตำแหน่งของร่างกายได้ไม่ดีนัก ทำให้เดินชนคน ชนของ กะระยะไม่คล่อง
  4. การกะน้ำหนัก การออกแรงต่างๆ เช่น เขียนหนังสือแรงหรือเบาเกินไป
  5. ไม่สามารถเลียนแบบท่าทาง หรือเคลื่อนไหวตามไม่ค่อยได้
  6. มีอาการกลัวเมื่ออยู่บนเครื่องเล่นต่างๆ ที่ทำให้เท้าลอยจากพื้น
  7. ไม่ชอบอยู่นิ่ง มีการเคลื่อนไหวมากกว่าปกติ ชอบใช้มือลูบหรือสัมผัสตามเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ซ้ำๆ
  8. มีความรู้สึกไวต่อแสง เสียงที่มีระดับปกติ หรือมีการรับรู้ต่อกลิ่น รสชาติมากหรือน้อยผิดปกติ
  9. แสดงอาการเจ็บปวดต่อการบาดเจ็บมากเกินไป หรือไม่ค่อยรับรู้ต่อการบาดเจ็บที่เกิดกับตัวเอง
  10. หลีกหนีการถูกสัมผัสบริเวณใบหน้าและช่องปาก
  11. มักจะชอบเล่นของเล่นเดิมๆ ซ้ำๆ ไม่รู้จักการปรับเปลี่ยนวิธีเล่น
  12. มีลักษณะงุ่มง่าม ไม่ระมัดระวัง ไม่รอบคอบ ทำเกินขั้นตอนบ้าง ทำผิดขั้นตอนบ้าง
  13. ไม่ยอมเริ่มต้นทำกิจกรรมด้วยตนเอง หรือ ต้องให้คนอื่นบอกเพื่อจะหยุดกิจกรรมนั้นๆ
  14. การใช้ร่างกายซีกซ้าย ขวา ไม่ประสานกัน เช่น การผูกเชือกรองเท้า การขีดเส้นโดยใช้ดินสอกับไม้บรรทัด
  15. มีปัญหาในการลอกข้อความที่เห็นจากกระดานหรือจากหนังสือลงสมุด
  16. มีความสับสนในทิศทาง ซ้าย ขวา บน ล่าง
  17. มีความสับสนในตัวเลข ตัวอักษร และมีปัญหาในการแยกเสียงและคำ


ห้องกิจกรรมบำบัด โรงพยาบาลวัฒนแพทย์ ตรัง


เด็ก ๆ จะได้รับการ ประเมินพัฒนาการ โดยนักกิจกรรมบำบัดเพื่อเลือกสรรกิจกรรมที่ตอบโจทย์การพัฒนา เพื่อประสิทธิภาพที่ดีที่สุดของเด็ก ๆ


เสริมความสนุกไปพร้อมกับสร้างการพัฒนาการและสมาธิที่ดีของเด็ก ๆ


"อุ่นใจ" เรื่องพัฒนการเด็ก ให้โรงพยาบาลวัฒนแพทย์ ตรัง ดูแลนะคะ