เพราะผู้สูงวัยนับเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายจากโรคไข้หวัดใหญ่สูงกว่าคนวัยหนุ่มสาว โดยจากสถิติพบว่า ผู้สูงวัยเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและเสียชีวิตเพิ่มขึ้น รวมถึงมักเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ได้มากกว่า
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้สูงวัยมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
1. ภูมิคุ้มกันเสื่อมถอย (Immunosenescence)
ระบบภูมิคุ้มกันเป็นกลไกที่ป้องกันและช่วยกำจัดเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย แต่ภูมิคุ้มกันจะค่อยๆ เสื่อมถอยหรือลดน้อยลงตามอายุที่มากขึ้นเมื่อผ่านพ้นวัยหนุ่มสาว ซึ่งจะมีผลกระทบที่ชัดเจนกับคนในช่วงวัย 60 ปีขึ้นไป โดยยิ่งสูงวัยมากเท่าไหร่ยิ่งมีโอกาสป่วยจากการติดเชื้อมากขึ้น ซึ่งพบได้ว่าในช่วงที่ไข้หวัดใหญ่ระบาดจะมีผู้สูงอายุที่ต้องนอนโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น
2. โรคประจำตัว (Underlying disease)
ผู้สูงอายุและผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคไต เบาหวาน และโรคมะเร็ง หากมีการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ จะเสี่ยงเกิดอาการแทรกซ้อนสูง เช่น เกิดไซนัสอักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ บางรายมีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต
3. ภาวะเปราะบางและความอ่อนแอในผู้สูงอายุ (Frailty)
ภาวะเปราะบางไม่ใช่โรค แต่เป็นภาวะหนึ่งของร่างกายซึ่งอยู่ระหว่างกลางของความสามารถในการทำงานได้กับภาวะไร้ความสามารถ และอยู่ระหว่างความมีสุขภาพดีกับความเป็นโรค นับเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญและพบมากในผู้สูงอายุ เมื่อผู้สูงอายุติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ พบว่า 10% ของผู้สูงอายุจะสูญเสียความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองด้านกิจวัตรประจำวัน และจำเป็นต้องพึ่งพาผู้อื่น รวมทั้ง 1 ใน 3 ของผู้สูงอายุที่นอนโรงพยาบาลยังไม่สามารถกลับมาทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตามปกติภายใน 1 ปี
ทั้งนี้ 50%-70% ของผู้ที่ต้องนอน รพ. และยังพบว่าผู้ป่วยเหล่านี้มักจะเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาได้บ่อย จนทำให้เกิดความสูญเสียทางสุขภาพ คุณภาพชีวิต ไปจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดย85% ของผู้เสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่จะเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ
ปัจจุบันวัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่ใช้ในประเทศไทยจะเป็นชนิด 4 สายพันธุ์ แนะนำให้ฉีดได้ตั้งแต่อายุ 6 เดือนขึ้นไป โดยฉีดปีละ 1 ครั้ง เป็นประจำทุกปี แต่สำหรับผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ปัจจุบันมีวัคซีนอีกทางเลือกหนึ่ง คือ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิด 4 สายพันธุ์ ชนิด High Dose
วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ ชนิด High Dose เป็นวัคซีนเชื้อตายที่มีข้อบ่งใช้สำหรับการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ และลดการนอนโรงพยาบาลจากปอดอักเสบที่เกี่ยวข้องกับไข้หวัดใหญ่ ในผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป โดยมีการนำมาใช้แล้วนานกว่า10 ปีในประเทศสหรัฐอเมริกาและในยุโรป ซึ่งประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นนั้น มีดังนี้
วัคซีนที่ใช้ในปัจจุบันส่วนใหญ่มีความปลอดภัยสูง แต่ยังคงพบอาการข้างเคียงได้บ้าง ซึ่งส่วนใหญ่ไม่รุนแรงและยอมรับได้ และอาการจะหายไปในระยะเวลา 2-3 วัน ปัจจุบันมีการใช้ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ชนิด High Dose ไปแล้วมากกว่า 202 ล้านโดสทั่วโลก และมีการติดตามความปลอดภัยในผู้ใช้วัคซีนทั่วโลก พบว่าไม่มีข้อกังวลทางด้านความปลอดภัย
สำหรับปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์ที่พบบ่อยที่สุดหลังได้รับวัคซีน คือ อาการปวดบริเวณที่ฉีด ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ และรู้สึกไม่สบาย โดยจะเกิดขึ้นภายใน 3 วันแรกหลังการฉีดวัคซีน และปฏิกิริยาหลักๆ ที่เกิดขึ้นจะหายไปได้ภายใน 3 วัน