8 สัญญาณเตือนว่าเราอาจจะเป็นมะเร็งปากมดลูก
8 สัญญาณเตือนว่าเราอาจจะเป็นมะเร็งปากมดลูก
มะเร็งปากมดลูก คืออะไร
เกิดจากเชื้อไวรัส HPV ซึ่งโดยปกติแล้วมักมาจากการมีเพศสัมพันธ์อย่างไรก็ตามยังสามารถเกิดจากสาเหตุอื่นได้ด้วย เช่น การสูบบุหรี่ ทานยาคุมกำเนิดมาเป็นเวลายาวนานกว่า 5 ปี เคยคลอดบุตรมาแล้วหลายครั้ง เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในเซลล์ในช่วงระยะก่อนมะเร็งมดลูก หรือเคยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคเริม โรคซิฟิลิส และโรคหนองใน เป็นต้น
อาการปวดท้องน้อยอาจมีลักษณะปวดเสียด ปวดหน่วง ๆ ปวดแปลบ ๆ โดยอาจมีอาการปวดอย่างต่อเนื่องเรื้อรัง หรือมีอาการอื่น ๆ ดังนี้
- 1. เลือดออกจากช่องคลอดโดยไม่ทราบสาเหตุ อาจจะเป็นตอนที่มีเพศสัมพันธ์ หรือประจำเดือนที่มาผิดปกติ
2. ตกขาวที่มีเลือดปน
3. เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์
4. มีสารคัดหลั่งออกมาจากช่องคลอดจำนวนมาก และอาจมีเลือดปน
5. ปวดท้องน้อยบ่อยเกินปกติ แม้จะไม่ใช่ช่วงใกล้มีประจำเดือนก็ตาม หรือช่วงที่ใกล้มีประจำเดือน
6. เบื่ออาหาร ไม่รู้สึกอยากอาหาร จนน้ำหนัดลดลงอย่างผิดสังเกต
7. อ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายกว่าปกติ รู้สึกไม่มีแรงอยู่ตลอดเวลา
8. ปัสสาวะบ่อย มีอาการปวดท้องน้อย ท้องน้อยบวม บางครั้งรู้สึกปวดปัสสาวะแต่ปัสสาวะไม่ออก
อาการเหล่านี้อาจจะเป็นสัญญาณเตือนของมะเร็งปากมดลูก หรือโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอวัยวะสืบพันธ์ของเราได้ แนะนำให้ควรพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัยอาการต่อไป
การตรวจคัดกรอง
- 1.การตรวจมะเร็งปากมดลูกชนิดพิเศษ ThinPrep Pap Test คือ การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยเก็บตัวอย่างเซลล์ด้วยของเหลว สามารถค้นหาเซลล์มะเร็งระยะแรกเริ่มได้ดีกว่าการตรวจแปปสเมียร์แบบดั้งเดิมถึง 65%
2.ตรวจอัลตร้าซาวด์ อุ้งเชิงกราน ช่วยเช็กความเสี่ยงโรคร้าย อย่าง ถุงน้ำรังไข่, เนื้องอกรังไข่, เนื้องอกในมดลูก หรือก้อนเนื้อภายในอุ้งเชิงกราน
3.ตรวจเลือดหาสารบ่งชี้มะเร็ง CA-125 ผู้ที่เป็นมะเร็งรังไข่หลายคนอาจมีโปรตีน CA-125 อยู่ในเลือดจำนวนมาก การตรวจพบโปรตีนชนิดนี้จึงอาจเป็นข้อมูลประกอบคำวินิจฉัยมะเร็งรังไข่
คลินิกสูติ-นรีเวชกรรม พร้อมให้คำปรึกษา ณ ชั้น 2 อาคาร Wellness Center
สอบถามโทร. 075-205555 ต่อ 1190
โปรแกรมตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (Cervical Cancer Risk Screening)
“มะเร็งปากมดลูก” เป็นหนึ่งในโรคที่ผู้หญิงมีโอกาสเป็นได้เยอะเป็นอันดับที่ 2 รองจากมะเร็งเต้านม คือ โดยมีอัตราความเสี่ยงมากถึงประมาณ 90 % หากไม่ได้รับวัคซีนป้องกัน โดยเฉพาะผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์หรือแต่งงานแล้วจะมีความเสี่ยงมากยิ่งขึ้น โดยปกติแล้วสามารถหายได้เองในระยะเวลา 1 ถึง 2 ปี อย่างไรก็ตามด้วยความเสี่ยงที่สูงจึงต้องมีการฉีดวัคซีน HPV หรือทำการตรวจร่างกายเป็นประจำ