วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก ทำไมต้องฉีดก่อนมีเพศสัมพันธ์

รู้จักวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก


ก่อนหน้านี้คุณผู้อ่านเคยได้ยินเรื่องของวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกไหมมาก่อนบ้างมั้ย ? มันคือวัคซีนที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสชนิดฮิวแมนแปปปิโลมาไวรัส (Human Papillomavirus) หรือเอชพีวี (HPV) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปากมดลูก โดยส่วนใหญ่จะติดต่อทางเพศสัมพันธ์

โดยการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกนั้นมักแนะนำให้ทำในวัยที่ยังไม่มีประสบการณ์ทางเพศ หรือในช่วงอายุช่วง 11-12 ปี ซึ่งเป็นการป้องกันก่อนที่จะมีโอกาสสัมผัสกับเชื้อ ซึ่งจะทำให้วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเลือกฉีดซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกอายุเท่าไหร่ การพูดคุยและปรึกษากับแพทย์เป็นสิ่งสำคัญ เพราะแพทย์สามารถให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประโยชน์และความเสี่ยงของการฉีดวัคซีน HPV ได้



10 ข้อต้องรู้ ก่อนฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก


1. ผู้หญิงที่เคยมีเพศสัมพันธ์แล้ว ยังสามารถฉีดวัคซีน HPV ได้หรือไม่

ผู้หญิงที่เคยมีเพศสัมพันธ์มาแล้วก็ยังคงสามารถฉีดวัคซีนได้ เพียงแต่อาจจะไม่ได้รับประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันจากวัคซีน ถ้าเทียบกับผู้ที่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน ซึ่งวัคซีนสามารถให้การป้องกันการติดเชื้อ HPV ได้หลายสายพันธุ์ แม้จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HPV ไปแล้ว แต่ก็ยังได้รับประโยชน์จากการป้องกันการติดเชื้อในบางสายพันธุ์อื่นๆที่มีอยู่ในวัคซีนได้


2. จำเป็นจะต้องตรวจหาเชื้อ HPV ก่อนรับการฉีดวัคซีนหรือไม่

คำแนะนำของคณะกรรมการสร้างภูมิคุ้มกันแห่งสหรัฐอเมริกานั้น ผู้หญิงที่ไปรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่เรียกว่า “ แปปสเมียร์” ( Pap Smear Test) เป็นประจำและไม่พบผลผิดปกติใดๆ ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องตรวจหาเชื้อ HPV ก่อนการได้รับวัคซีน


3. วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก สามารถป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ 100% หรือไม่

สามารถป้องกันการติดเชื้อชนิดสำคัญที่เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูกได้ 70% ดังนั้นจึงยังมีเชื้อ HPV บางส่วนที่วัคซีนยังไม่สามารถให้การป้องกันได้ ผู้หญิงจะได้รับประโยชน์เต็มที่จากการฉีดวัคซีนดังกล่าว ในกรณีที่ยังไม่เคยสัมผัสกับเชื้อ HPV ชนิดที่มีอยู่ในวัคซีนมาก่อน วัคซีน HPV ที่ผลิตได้สำเร็จเป็นตัวแรก และได้การรับรองใช้กว่า 80 ประเทศทั่วโลกแล้วนั้น สามารถครอบคลุมเชื้อ HPV สายพันธุ์ 16 และ 18 ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด มะเร็งปากช่องคลอด ประมาณ 70% ยังสามารถป้องกันการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์ 6 และ 11 ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคหูดบริเวณอวัยวะเพศประมาณ 90%


4. ทำไมวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก จึงสามารถป้องกันเราจากมะเร็งปากมดลูกได้

การเกิดมะเร็งปากมดลูกต่างจากมะเร็งชนิดอื่นๆ เพราะไม่ได้มาจากกรรมพันธุ์ แต่เกิดจากการได้รับเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า HPV (Human Papillomavirus) ซึ่งสามารถติดต่อกันผ่านทางเพศสัมพันธ์เป็นหลัก เชื้อไวรัสนี้จะเข้าไปเปลี่ยนแปลงเซลล์บริเวณปากมดลูก ทำให้กลายเป็นเซลล์เนื้อร้าย หรือมะเร็ง การฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกจึงเป็นการป้องกันต่อการติดเชื้อ HPV ชนิดสำคัญได้


5. แนะนำการฉีดวัคซีน HPV ในช่วงอายุใดจึงเหมาะสมที่สุด

วัคซีน HPV นี้จะให้ประสิทธิภาพสูงสุดในกรณีที่ยังไม่เคยมีการสัมผัสกับเชื้อ จึงเป็นวัคซีนที่แนะนำให้ฉีดในเด็ก หรือหญิงสาววัยรุ่น เป็นการป้องกันล่วงหน้าก่อนการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก โดยคณะกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันแห่งสหรัฐอเมริกา ได้รับรองการใช้ในเด็กผู้หญิงและหญิงสาวอายุ 9-26 ปี ว่าวัคซีนสามารถป้องกันมะเร็งปากมดลูกที่เกิดจากการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์หลักคือ 16 และ 18 ได้อย่างมีประสิทธิภาพในผู้ที่ไม่เคยติดเชื้อมาก่อน และในอีกหลายประเทศชั้นนำมีการพิจารณาให้เป็นวัคซีนบังคับที่ใช้ในเด็กผู้หญิงและวัยรุ่นหญิง อายุช่วง 11-12 ปี ซึ่งเป็นการป้องกันก่อนที่จะมีโอกาสสัมผัสกับเชื้อ เพราะในช่วงอายุที่พบการติดเชื้อมาที่สุดคือ 18-28 ปี และเชื้อ HPV อาจใช้เวลาในการก่อตัวนานนับ 10 ปีก่อนที่จะปรากฏอาการผิดปกติและกลายเป็นมะเร็งในเวลาต่อมานั้นเอง


6. วัคซีนชนิดนี้มีความปลอดภัยสำหรับการฉีดในเด็กมากน้อยเพียงใด

วัคซีนชนิดนี้มีความปลอดภัยสูง เพราะเป็นวัคซีนที่สังเคราะห์เลียนแบบโครงสร้างของเชื้อ HPV โดยที่ไม่ได้นำส่วนประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งของสายพันธุกรรมของเชื้อไวรัสมาใช้ผลิตวัคซีน เมื่อร่างกายได้รับวัคซีนก็จะสามารถสร้างภูมิต้านทานต่อเชื้อ HPV โดยอาการข้างเคียงรุนแรงพบน้อยมาก ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการฉีดวัคซีนในเด็กจะมีผลดีในเรื่องการตอบสนองต่อการสร้างภูมิคุ้มกันได้สูงกว่าในผู้ใหญ่


7. ถ้าอายุเกิน 26 ปี ยังสามารถฉีดวัคซีนได้หรือไม่

ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณส่วนบุคคลในแง่ของความคุ้มค่าที่จะลดความเสี่ยงจากมะเร็งปากมดลูกด้วยการฉีดวัคซีน ถ้าหากเป็นการฉีดก่อนที่จะเกิดการสัมผัสเชื้อหรือก่อนการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกก็จะทำให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากวัคซีน รวมทั้งการตอบสนองของร่างกายในการสร้างภูมิคุ้มกัน ก็เหมือนกับวัคซีนอีกหลายๆชนิด


8. วัคซีนชนิดนี้สามารถฉีดในสตรีมีครรภ์หรือสตรีในระยะให้นมบุตรได้หรือไม่

ในกรณีที่มีการตั้งครรภ์ ไม่แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก แต่พบว่าวัคซีนนี้ไม่มีอันตรายต่อเด็กที่คลอดจากแม่ที่ได้รับวัคซีนในขณะตั้งครรภ์ ส่วนในระยะให้นมบุตรสามารถที่จะฉีดวัคซีนได้ หากมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นในระหว่างที่รอฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 หรือ 3 นั้น ควรหยุดฉีดก่อน และกลับมาฉีดเข็มต่อไปหลังจากที่คลอดโดยไม่ต้องเริ่มเข็มแรกใหม่


9. การฉีดวัคซีน HPV จะฉีดบริเวณใด และมีผลข้างเคียงหรือไม่

ในการฉีดวัคซีนเข้าที่บริเวณกล้ามเนื้อต้นแขน ผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายนั้นน้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นเพียงอาการเหมือนกับการได้รับวัคซีนชนิดอื่นๆ เช่น อาจมีไข้ต่ำๆในบางราย หรือปวดบวมเล็กน้อยบริเวณที่ฉีด หลังฉีดแนะนำให้นั่งลงพักสังเกตอาการประมาณ 30 นาที


10. วัคซีน HPV ต้องฉีดทั้งหมดกี่เข็ม และป้องกันได้นานเท่าไหร่

วัคซีนจะต้องฉีดทั้งหมด 3 เข็ม ภายในระยะเวลา 6 เดือน ซึ่งประสิทธิภาพของภูมิคุ้มกันอยู่ในระดับสูง และมีแนวโน้มว่าวัคซีน HPV จะกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายสามารถจดจำและสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ HPV ที่มีอยู่ในวัคซีนได้ โดยช่วงแรกที่มีการใช้วัคซีนก็ยังไม่ทราบระยะเวลาของภูมิคุ้มกันที่ชัดเจน แต่ต่อมาพบว่าภูมิคุ้มกันสามารถอยู่ได้ตลอดชีวิตโดยไม่ต้องฉีดกระตุ้น


วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกชนิด 4 สายพันธุ์ และ 9 สายพันธุ์ต่างกันอย่างไร


วัคซีน HPV แบบ 4 สายพันธุ์

สามารถป้องกันเชื้อไวรัส HPV สายพันธุ์ 6 และ 11 ที่ทำให้เกิดหูดหงอนไก่ และสายพันธุ์ 16 และ 18 ที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูก

วัคซีน HPV ชนิด 9 สายพันธุ์

วัคซีน HPV ชนิด 9 สายพันธุ์ เป็นวัคซีนชนิดเชื้อตายที่พัฒนามาจากวัคซีน HPV ชนิด 4 สายพันธุ์ สามารถป้องกันเชื้อไวรัส HPV สายพันธุ์ที่ 6, 11, 16, 18, 31, 33, 45, 52 และ 58 ที่เป็นสาเหตุก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูก มะเร็งทวารหนัก และหูดหงอนไก่


 


 แพ็กเกจวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก


โปรโมชั่น 9.9 คลิ๊ก


 

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

แพ็กเกจและโปรโมชั่น

แพ็กเกจตรวจสุขภาพก่อนมีลูก
2,299

บาท

ดูรายละเอียด
แพ็กเกจตรวจสุขภาพก่อนแต่งงาน
1,699

บาท

ดูรายละเอียด
โปรแกรมตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (Cervical Cancer Risk Screening)
1,200

บาท

ดูรายละเอียด
กระชับช่องคลอด ฟื้นฟูจุดซ่อนเร้น Thermiva Vaginal Rejuvenation
   
ดูรายละเอียด

บทความเพื่อสุขภาพ

ทำความสะอาด สะดือลูกน้อยตามนี้ ถูกวิธี สะอาด ปลอดภัย
ทำความสะอาด สะดือลูกน้อยตามนี้ ถูกวิธี สะอาด ปลอดภัย
ทำความสะอาด สะดือลูกน้อยตามนี้ ถูกวิธี สะอาด ปลอดภัย

 

การทำความสะอาดสะดือทารก

สายสะดือเป็นทางติดต่อระหว่างคุณแม่และลูกน้อยขณะอยู่ในครรภ์ เป...
ดูรายละเอียด

คลึงมดลูกให้ถูกวิธี ลดความเสี่ยงตกเลือดหลังคลอด พร้อมวิดีโอสอน
คลึงมดลูกให้ถูกวิธี ลดความเสี่ยงตกเลือดหลังคลอด พร้อมวิดีโอสอน

การนวดคลึงมดลูกมีส่วนสำคัญในการช่วยป้องกันการตกเลือดหลังคลอดได้ โดยคุณแม่หลังคลอดไม่ว่าจะเป็นคลอดธรรมชาติ หรือผ่าตัดคลอดควรทำการนวดคลึงมดลูกในช่วง...
ดูรายละเอียด

วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก ทำไมต้องฉีดก่อนมีเพศสัมพันธ์
วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก ทำไมต้องฉีดก่อนมีเพศสัมพันธ์
รู้จักวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก

ก่อนหน้านี้คุณผู้อ่านเคยได้ยินเรื่องของวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกไหมมาก่อนบ้างมั้ย ? มันคือวัคซีนที่ช่วยป้องกันการติดเช...
ดูรายละเอียด

นมแม่ แน่แค่ไหน ควรให้นานเท่าไหร่ดี
นมแม่ แน่แค่ไหน ควรให้นานเท่าไหร่ดี
นมแม่ดีอย่างไร ควรให้นานแค่ให้ อยากเป็นคุณแม่สายให้นมต้องรู้

องค์การอนามัยโลกบอกไว้ว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มีประโยชน์มากสำหรับทารกแรกเกิดจนถึง 2 ข...
ดูรายละเอียด

ถ้าคุณแม่ ไม่ฝากครรภ์ มีผลเสียต่อลูกจริงมั้ย
ถ้าคุณแม่ ไม่ฝากครรภ์ มีผลเสียต่อลูกจริงมั้ย

การฝากครรภ์ (Antenatal Care) คือ การดูแลสุขภาพครรภ์ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ไปจนถึงก่อนคลอด ทั้งของคุณแม่และทารกในครรภ์ ซึ่งจะเป็นการดูแลแบบครอบค...
ดูรายละเอียด

อาการเสี่ยงภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ
อาการเสี่ยงภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ

ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบคืออะไร?

ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ หรือ PCOS (Polycystic ovary syndrome) เป็นความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ หรือ ระบบฮอร์โมน มีล...
ดูรายละเอียด

NIPT คืออะไร? แล้วเลือดหยดเดียวบอกโรคอะไรเราได้บ้าง
NIPT คืออะไร? แล้วเลือดหยดเดียวบอกโรคอะไรเราได้บ้าง

การตรวจ NIPT หรือ Non-Invasive Prenatal Testing (NIPT) คือการตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมทารกในครรภ์จากเลือดมารดา "อุ่นใจ ให้แพทย์เฉพาะทางดูแ...

ดูรายละเอียด
เทียบให้ดูกันชัดๆ คลอดธรรมชาติกับผ่าคลอดเลือกแบบไหนดี
เทียบให้ดูกันชัดๆ คลอดธรรมชาติกับผ่าคลอดเลือกแบบไหนดี
คลอดธรรมชาติ กับ ผ่าคลอดแบบไหนดีกว่ากัน และมีข้อดี ข้อเสียอะไรบ้าง?

การคลอดธรรมชาติ คือ การคลอดทารกผ่านทางช่องคลอด ซึ่งเป็นวิธีที่องค...
ดูรายละเอียด

วิธีเช็กเต้านมเบื้องต้นง่ายๆ ด้วยตนเอง
วิธีเช็กเต้านมเบื้องต้นง่ายๆ ด้วยตนเอง

มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับหนึ่งของมะเร็งในสตรี ปัจจัยที่ทำให้การรักษาได้ผลดีนั้นขึ้นอยู่กับระยะของโรคที่เป็น ถ้าเรายิ่งค้นพบให้ได้ตั้งแต่ระยะต้...
ดูรายละเอียด

อายุเท่าไหร่ ถึงสามารถ ฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูกได้
อายุเท่าไหร่ ถึงสามารถ ฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูกได้

การฉีดวัคซีน hpv ให้ได้ผลดี คือการฉีดตั้งแต่ยังไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ และอยู่ในช่วงวัยที่ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัสนี้ได้ดี เชื้อไวรัส HPV นับว่าเป็นเ...
ดูรายละเอียด

หมอ MFM สำคัญยังไง แม่ท้องต้องรู้ก่อนฝากครรภ์
หมอ MFM สำคัญยังไง แม่ท้องต้องรู้ก่อนฝากครรภ์
หมอ MFM สำคัญยังไง แม่ท้องต้องรู้ก่อนฝากครรภ์ รู้จักกับ MFM

Maternal Fetal Medicine (MFM) คือ แพทย์ที่มีความชำนาญเฉพาะทางด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในคร...
ดูรายละเอียด

ตกขาวประจำเดือน...แบบไหนที่เสี่ยง“มะเร็งปากมดลูก”
ตกขาวประจำเดือน...แบบไหนที่เสี่ยง“มะเร็งปากมดลูก”
ตกขาวประจำเดือน...แบบไหนที่เสี่ยง“มะเร็งปากมดลูก”

การมีตกขาวมากผิดปกติ ทั้งที่เป็นน้ำและข้น เป็นมูก ตกขาวมีเลือดหรือหนองปน อาจจะมีกลิ่นหรือไม่มี...
ดูรายละเอียด

การตรวจอัลตร้าซาวด์ MFM
การตรวจอัลตร้าซาวด์ MFM

การตรวจอัลตร้าซาวด์ MFM คืออะไร

เป็นการตรวจอัลตร้าซาวด์โดยสูติแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ (MFM : Maternal Fetal Medicine) จะเน้นก...
ดูรายละเอียด

8 สัญญาณเตือนว่าเราอาจจะเป็นมะเร็งปากมดลูก
8 สัญญาณเตือนว่าเราอาจจะเป็นมะเร็งปากมดลูก
8 สัญญาณเตือนว่าเราอาจจะเป็นมะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูก คืออะไร

เกิดจากเชื้อไวรัส HPV ซึ่งโดยปกติแล้วมักมาจากการม...
ดูรายละเอียด

นมคัดเต้าในคุณแม่หลังคลอด
นมคัดเต้าในคุณแม่หลังคลอด
อาการเต้านมคัดเป็นเรื่องปกติ ซึ่งเป็นผลจากการที่ร่างกายสร้างน้ำนมมากขึ้น หนักขึ้น และบวม อาการคือเต้านมจะแข็งขึ้นและมีอาการปวด บวม ร้อน เต้านมมีสีแดงขึ้น บาง...
ดูรายละเอียด