โรคหอบหืดในเด็ก สังเกตจากอะไร?

จะรู้ได้อย่างไร ว่าลูกเป็นโรคหอบหืด การสังเกตอาการ และการรักษา



โรคหอบหืด คืออะไร?

โรคหืด คือ โรคที่หลอดลมมีการตีบแคบฉับพลัน เนื่องจากหลอดลมมีการอักเสบเรื้อรัง จึงทำให้หลอดลมมีความไวต่อสารกระตุ้นต่างๆ เพิ่มมากขึ้น ทำให้เวลาคนไข้มีอาการ จะมีอาการ ไอ แน่นหน้าอก หอบเหนื่อย ออกซิเจนในเลือดต่ำ โดยโรคหืดในเด็กเกิดจากสาเหตุใดนั้นยังไม่มีสาเหตุที่เเน่ชัด แต่พบว่ามีความสัมพันธ์กับปัจจัยบางอย่าง ได้แก่

1. กรรมพันธุ์ พ่อแม่ พี่น้อง มีประวัติโรคประจำตัวภูมิแพ้ หรือ หืด


2. สารก่อภูมิแพ้ อาจสัมพันธ์กับสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ เช่น ไรฝุ่น แมลงสาบ ขนแมว ขนสุนัข และเกสรดอกหญ้า


3. ปัจจัยอื่นๆ

    1. การติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ เช่น การติดเชื้อไวรัสบางชนิด

    2. การเปลี่ยนแปลงของอากาศ
    3. สิ่งระคายเคืองและมลภาวะ

    4. การออกกำลังกาย

    5. ความเปลี่ยนแปลงของอารมณ์และจิตใจ

อาการที่คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกต

ในเด็กอาจต้องอาศัยการสังเกตอาการ เพราะเด็กไม่สามารถบอกอาการเองได้ ทำให้ได้รับการวินิจฉัยเป็นหลอดลมอักเสบหรือปอดบวมบ่อยๆ โดยลักษณะหรืออาการที่อาจเป็นโรคหืด มีดังนี้

  1. ในเด็กเล็กที่อายุน้อยกว่า 5 ปี  เด็กที่มีอาการ ไอ หายใจลำบากหรือหอบเหนื่อยบ่อยๆ  เกิน 3 ครั้งขึ้นไป

  2. ได้ยินเสียงหายใจวี๊ด

  3. ไอนานๆ หายใจเสียงวี๊ดนานๆ หลังจากติดเชื้อ

  4. อาการไอ หรือหายใจวี๊ด มักเป็นตอนกลางคืน หรือหลังได้รับสิ่งกระตุ้น เช่น สารก่อภูมิแพ้ ออกกำลังกาย หัวเราะ ร้องไห้

  5. อาการไอ หรือหายใจวี๊ด เกิดขึ้นเองโดยที่ไม่มีไข้หรือการติดเชื้อในทางเดินหายใจ

  6. มีประวัติปอดติดเชื้อ หรือหลอดลมอักเสบบ่อยๆ

  7. ภายหลังจากที่ได้รับการพ่นยาขยายหลอดลมเเล้วไอลดลง

  8. มีประวัติ คุณพ่อคุณแม่หรือพี่น้องเป็นโรคหืด

  9. เด็กมีอาการของภูมิแพ้ เช่น ผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้หรือเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หรือเคยทดสอบภูมิแพ้แล้วผลเป็นบวกต่อสารก่อภูมิแพ้ในอาการหรืออาหารบางชนิด

  10. ในเด็กที่อายุมากกว่า 6 ปี สามารถตรวจสมรรถภาพปอดแล้วพบผลผิดปกติ

การตรวจเพิ่มเติมทางห้องปฏิบัติการ

  1. ตรวจสมรรถภาพปอดเพื่อดูว่ามีภาวะทางเดินหายใจมีการอุดกั้นจากการตีบแคบชั่วคราวของหลอดลมในปอด และตอบสนองต่อยาขยายหลอดลมหรือไม่

  2. ในรายที่มีอาการหอบเหนื่อย อาจจะตรวจ peak flow meter ก่อนเเละหลังพ่นยาขยายหลอดลม เพื่อดูการเปลี่ยนเเปลงของค่าแรงดันอากาศที่หายใจ

  3. เด็กมีอาการของภูมิแพ้ แนะนำให้ตรวจการทดสอบภูมิแพ้

  4. Film Chest X-ray ตามดุลยพินิจของแพทย์

อาการแสดงเมื่อมีอาการหอบ

  1. หายใจเร็ว พูดแล้วเหนื่อย หรือพูดไม่เป็นประโยค

  2. อาการไอถี่ หรือหายใจแล้วได้ยินเสียงวี๊ด

  3. มีอาการแน่นหน้าอก

  4. ริมฝีปากเขียวคล้ำ

ในเด็กที่เป็นโรคหืด หากลูกมีอาการหอบ หรือหืดจับต้องทำอย่างไร?

  1. ให้หยุดทำกิจกรรมนั้นๆ

  2. ใช้ยาขยายหลอดลมตามเทคนิคที่แพทย์ได้สอนไว้

  3. หากอาการหอบไม่ดีขึ้นภายใน 15-20 นาที ให้ใช้ยาซ้ำได้อีกครั้งหนึ่ง

  4. ถ้าอาการดีขึ้นพ่นห่าง 6 – 8 ชั่วโมงจนดีขึ้นไป 2-3 วัน

  5. หากยังมีอาการหายใจลำบากหรือไม่ดีขึ้น หลังจากพ่นยาขยายหลอดลมไปแล้ว 3 ครั้ง ให้รีบไปพบแพทย์

โรคหืดในเด็กสามารถรักษาได้อย่างไร?

1.การใช้ยารักษาโรคหืด แบ่งยารักษาออกเป็นสองกลุ่ม ได้แก่

1.1 ยาสำหรับการบรรเทาอาการ

เป็นยาบรรเทาอาการเวลาเด็กมีอาการ ไอหรือหอบหืดกำเริบ เช่น ยาขยายหลอดลม ซึ่งสามารถออกฤทธิ์บรรเทาอาการหลอดลมตีบได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตามหากผู้ป่วยจะต้องใช้ยาขยายหลอดลมบ่อยมากขึ้นหรือใช้ในปริมาณที่สูง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุ

1.2 ยาสำหรับควบคุมอาการ

ต้องใช้เป็นประจำทุกวัน โดยแพทย์จะพิจารณาเลือกใช้ยาตามความรุนแรงของโรค และแนะนำให้ใช้ยาอย่างต่อเนื่องเพื่อควบคุมอาการไม่ให้เกิดโรคกำเริบ


2. การเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้และสารอื่นๆ ที่อาจกระตุ้นให้เกิดอาการ


3. การรักษาโรคร่วมที่สามารถพบได้ในผู้ป่วยกลุ่มนี้ เช่นโรคเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ ไซนัสอักเสบ เป็นต้น


4. การดูแลสุขภาพทั่วไป เช่น การออกกำลังกายที่เหมาะสม การนอนหลับให้เพียงพอ และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์


5. รับวัคซีนป้องกันโรค โดยเฉพาะกลุ่มโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ วัคซีนไอกรน วัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนนิวโมคอคคัส (IPD) วัคซีนหัด


ปัจจัยที่ช่วยลดโอกาสเสี่ยงจากการเป็นโรคหืดในเด็ก  

  1. หลีกเลี่ยงควันบุหรี่ สารก่อภูมิแพ้และสารอื่นๆ ที่อาจกระตุ้นให้เกิดอาการ

  2. เด็กที่คลอดด้วยวิธีการคลอดธรรมชาติ

  3. เด็กที่ได้รับนมแม่ตั้งแต่เกิดจนถึง อย่างน้อยอายุ 4-6 เดือน

  4. ดูแลความสะอาดและดูแลให้ลูกไม่เสี่ยงกับการติดเชื้อที่ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจในช่วงอายุ 1 ปีแรก

การตรวจภูมิแพ้  "ตรวจให้รู้ว่าลูกแพ้อะไร"

สารก่อภูมิแพ้  1 ในปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ลูกเป็นหอบหืด "รู้แล้ว ลดเสี่ยง เลี่ยงได้"

แพ็กเกจและโปรโมชั่น

วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี (IPD Vaccine)
2,899

บาท

ดูรายละเอียด
แพ็กเกจตรวจภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
2,499

บาท

ดูรายละเอียด
แพ็กเกจวัคซีนเด็ก ชุดเหมาจ่าย
6,599

บาท

ดูรายละเอียด

บทความเพื่อสุขภาพ

ทำความรู้จัก ไอกรน ภัยร้ายของเด็กเล็ก ที่พ่อแม่ต้องระวัง
ทำความรู้จัก ไอกรน ภัยร้ายของเด็กเล็ก ที่พ่อแม่ต้องระวัง
“ไอกรน” โรคติดต่อที่ทำให้ไอไม่หยุด ที่พ่อแม่ต้องเฝ้าระวัง!

หากลูกน้อยของคุณพ่อคุณแม่มีอาการไอแห้งๆ ไข้ต่ำๆ ติดต่อกันนานหลายวัน ต้องระวัง &...
ดูรายละเอียด

รวมทริคดีๆ ให้คุณพ่อ คุณแม่ ดูแลสุขภาพลูก สู้เปิดเรียนปลายฝน ต้นหนาว
รวมทริคดีๆ ให้คุณพ่อ คุณแม่ ดูแลสุขภาพลูก สู้เปิดเรียนปลายฝน ต้นหนาว
รวมทริคดีๆ ให้คุณพ่อ คุณแม่ ดูแลสุขภาพลูก สู้เปิดเรียนปลายฝน ต้นหนาว

เมื่ออากาศเปลี่ยนแปลงจากฤดูฝนเป็นฤดูหนาว สภาพร่างกายของเด็กๆ ยังอาจปรับตัวไม่ทัน ...
ดูรายละเอียด

ทำไมไข้หวัดใหญ่ในเด็ก ถึงอันตรายกว่าผู้ใหญ่
ทำไมไข้หวัดใหญ่ในเด็ก ถึงอันตรายกว่าผู้ใหญ่
ทำไมไข้หวัดใหญ่ในเด็ก ถึงอันตรายกว่าผู้ใหญ่  

ไข้หวัดใหญ่สามารถส่งผลกระทบต่อทุกวัย แต่ในเด็ก โดยเฉพาะกลุ่มเด็กเล็ก พวกเขามีความเสี่ยงมากกว่าผู้ใหญ...
ดูรายละเอียด

เช็กอาการแรกเริ่มของ RSV สัญญาณแรกที่บ่งบอกว่าลูกน้อยอาจติดเชื้อไวรัส
เช็กอาการแรกเริ่มของ RSV สัญญาณแรกที่บ่งบอกว่าลูกน้อยอาจติดเชื้อไวรัส

เมื่อเริ่มเข้าช่วงหน้าฝน ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่อาการป่วยมากมายจะกลับมา ทั้งไข้ ไอ หวัด ไ...
ดูรายละเอียด

ทำอย่างไรดี เมื่อลูกไอบ่อย
ทำอย่างไรดี เมื่อลูกไอบ่อย
ทำอย่างไรดี เมื่อลูกไอบ่อย

การที่ลูกไอบ่อยเป็นเรื่องที่ทำให้พ่อแม่หลายคนกังวลใจ แต่การรู้จักสาเหตุและวิธีการดูแลที่เหมาะสมสามารถช่...
ดูรายละเอียด

สนุกกับกิจกรรมพร้อมพัฒนาลูกน้อยอย่างถูกหลัก ด้วย กิจกรรมบำบัด
สนุกกับกิจกรรมพร้อมพัฒนาลูกน้อยอย่างถูกหลัก ด้วย กิจกรรมบำบัด
กิจกรรมบำบัด กระตุ้นพัฒนาการเด็ก ทำอะไรได้บ้าง กิจกรรมบำบัด กระตุ้นพัฒนาการเด็ก มีอะไรบ้างและช่วยพัฒนาการด้านใด (Treatment Program) 1. Child Developme...
ดูรายละเอียด
กิจกรรมบำบัด สำคัญอย่างไรสำหรับเด็กๆ
กิจกรรมบำบัด สำคัญอย่างไรสำหรับเด็กๆ
พัฒนาประสาทสัมผัสองค์รวมของเด็ก ด้วยกิจกรรมบำบัด

กิจกรรมบำบัดคืออะไร? 

กิจกรรมบำบัดเป็นการบำบัดรักษา เพื่อฟื้นฟูความสามารถในการทำกิจวัตรป...
ดูรายละเอียด

ทำอย่างไรเมื่อลูกติดไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ A
ทำอย่างไรเมื่อลูกติดไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ A
ไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1 เอ็น1 (Influenza A (H1N1)

เป็นโรคที่แพร่ติดต่อระหว่างคนสู่คน พบที่ประเทศเม็กซิโก และสหรั...
ดูรายละเอียด

3 ท่าเคาะปอดเมื่อลูกมีเสมหะ
3 ท่าเคาะปอดเมื่อลูกมีเสมหะ
3 ท่าเคาะปอด ลดเสมหะลูกน้อย ที่พ่อแม่ต้องรู้

อาการไอ และมีเสมหะ เป็นหนึ่งในอาการป่วยยอดฮิตที่ลูกน้อยเป็นอยู่ประจำ คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจรู้สึกกังวลใจเวลาที...
ดูรายละเอียด

โรคหอบหืดในเด็ก สังเกตจากอะไร?
โรคหอบหืดในเด็ก สังเกตจากอะไร?
จะรู้ได้อย่างไร ว่าลูกเป็นโรคหอบหืด การสังเกตอาการ และการรักษา

โรคหอบหืด คืออะไร?

โรคหืด คือ โรคที่หลอดลมมีการตีบแคบฉับพลัน เนื่องจากหลอดลมมีก...
ดูรายละเอียด

จะเป็นอย่างไร หากลูกไม่ได้รับวัคซีนตามช่วงอายุ
จะเป็นอย่างไร หากลูกไม่ได้รับวัคซีนตามช่วงอายุ
วัคซีนหลักสำหรับลูกน้อยนั้นสำคัญยังไง ทำไมถึงต้องฉีดให้ตรงวัย และตรงเวลา

การฉีดวัคซีนเด็กวัยแรกเกิดจนถึงอายุ 12 ปี นับว่าเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ผู้ปกค...
ดูรายละเอียด

เมนูแนะนำ เมื่อลูกน้อยเป็นโรค มือ เท้า ปาก
เมนูแนะนำ เมื่อลูกน้อยเป็นโรค มือ เท้า ปาก
โรคมือเท้าปาก (Hand Foot Mouth Disease) 

เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส สายพันธุ์ที่พบบ่อย ได้แก่ Coxsackievirus A16 และ Enterovirus 71 ซึ่งโรคนี้มั...
ดูรายละเอียด

สถิติการป่วยของเด็กในช่วง 3 เดือนที่
สถิติการป่วยของเด็กในช่วง 3 เดือนที่ "วัฒนแพทย์"
สถิติการป่วยของเด็กในช่วง 3 เดือนที่ "วัฒนแพทย์"

เมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูฝนและเปิดเทอมไปเป็นที่เรียบร้อย สถิติผู้ป่วยที่เป็นเด็กจึงมีจำนวนเพิ่มขึ้น โรงพยาบาลวั...
ดูรายละเอียด

อาการแพ้อาหารในเด็ก เรื่องเล็กๆที่ไม่ควรละเลย
อาการแพ้อาหารในเด็ก เรื่องเล็กๆที่ไม่ควรละเลย

เมื่อลูกน้อยอายุ 4-6 เดือน เป็นวัยที่ควรได้รับอาหารเสริมนอกเหนือจากนมแม่ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่อาจมีความกังวลเรื่องการแพ้อาหารในเด็กเล็ก ไม่มั่นใจว่าลูกแพ้อาหารอะไ...
ดูรายละเอียด

ภาวะซีด หรือโลหิตจางในเด็ก
ภาวะซีด หรือโลหิตจางในเด็ก
ภาวะซีด หรือโลหิตจางในเด็ก

ปัญหาภาวะซีดในเด็ก ถือเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน ซึ่งอาจเกิดจากการขาดสารอาหาร พ่อแม่อาจแปลกใจว่าทำไมลูกถึงมีภาวะขาดสารอาหารไ...
ดูรายละเอียด

วัคซีนเสริมสำหรับเด็ก สำคัญเหมือนกับวัคซีน หลักหรือไม่
วัคซีนเสริมสำหรับเด็ก สำคัญเหมือนกับวัคซีน หลักหรือไม่
วัคซีนเสริมสำหรับเด็ก สำคัญเหมือนกับวัคซีน หลักหรือไม่

 ปัจจุบันวัคซีนสำหรับลูกน้อยมีทั้งหมด 2 กลุ่ม คือ วัคซีนที่อยู่ในแผนเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค ของ...
ดูรายละเอียด

MIS-C คืออะไรทำไมอันตรายถึงชีวิด
MIS-C คืออะไรทำไมอันตรายถึงชีวิด
MIS-C คืออะไร ทำไมอันตรายถึงชีวิต

MIS-C มักเกิดขึ้น 2-6 สัปดาห์หลังจากเด็กและวัยรุ่นหายป่วยจากโควิด-19 อายุเฉลี่ยของเด็กที่มีรายงานคือ 8 ปี นอกจากน...
ดูรายละเอียด

ภัยร้ายของลูกน้อย โรคไวรัส RSV
ภัยร้ายของลูกน้อย โรคไวรัส RSV

 

...

ดูรายละเอียด