เป็นมะเร็งที่พบได้มากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของโรคมะเร็งที่เกิดในผู้ชายไทย โดยมักพบในคนอายุ 30-70 ปี และพบได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ 2-3 เท่า เนื่องจากเพศชายมีปัจจัยเสี่ยงมากกว่าเพศหญิง โดยโรคมะเร็งตับในระยะแรกมักไม่แสดงอาการ
การดื่มแอลกอฮอล์จัดจะนำไปสู่การเกิดภาวะตับอักเสบ และตับแข็ง จากนั้นก็เกิดเป็นโรคมะเร็งตับตามมา แต่สำหรับคนที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและซี การดื่มแอลกอฮอล์จัดจะนำไปสู่มะเร็งตับได้เลยทีเดียว แต่ถึงอย่างนั้น การที่เราจะเป็นมะเร็งตับได้นั้นก็ใช่ว่าจะต้องเป็นคนที่ดิ่มแอลกอฮอล์เป็นประจำแต่เพียงเดียว เพราะยังมีสาเหตุอื่นๆ ที่เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดโรคมะเร็งตับนี้ได้
ซึ่งเป็นพยาธิที่มีการปนเปื้อนอยู่ในอาหารประเภท ของหมักดอง ปลาร้า ปลาดิบ เนื้อดิบ อาหารสุกๆ ดิบๆ โดยพยาธิที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหารจะอาศัยและชอนไชไปตามท่อน้ำดีที่อยู่ในเนื้อตับ เนื่องจากในท่อน้ำดีจะมีสารอาหารซึ่งเป็นที่ต้องการของพยาธิใบไม้ บางครั้งพบว่าพยาธิใบไม้มักจะไปอุดตันในท่อน้ำดี ก่อให้เกิดอาการตัวเหลืองหรือตาเหลือง
ซึ่งเป็นสารพิษที่พบได้ในอาหารจำพวก ปลาร้า ปลาส้ม หรือแหนม เป็นต้น หรืออาหารจำพวกเนื้อสัตว์ที่ผสมดินประสิว เช่น ไส้กรอก, กุนเชียง, เนื้อเค็ม และปลาเค็ม เป็นต้น และอาหารรมควัน เช่น ไส้กรอกรมควัน ปลารมควัน จากสาเหตุที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น สาเหตุอันดับต้นๆ ที่พบบ่อยและเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดมะเร็งตับในประเทศไทย คือ “การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี” ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากติดต่อจากแม่มาสู่ลูก แต่ในประเทศที่พัฒนาแล้วพบว่าสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดมะเร็งตับ คือ “การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์”
การตรวจคัดกรองมะเร็งตับสามารถทำได้โดยการอัลตร้าซาวด์ผ่านทางช่องท้อง และ/หรือ ร่วมกับการตรวจเลือดหาสารบ่งชี้มะเร็งตับ AFP (Alpha fetoprotein) โดยแนะนำให้ตรวจทุกๆ 6 เดือน โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยง ดังนี้