โรคไหนบ้างที่พบได้จากการตรวจ Ultrasound


ตรวจอัลตร้าชาวด์เช็คความผิดปกติ

การอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound หรือ Ultrasound scanning) คือการตรวจวินิจฉัยโรคโดยการใช้คลื่นเสียงกำลังสูงสะท้อนให้เกิดภาพ ซึ่งสามารถตรวจดูอวัยวะต่างๆ ทำให้เห็นได้ถึงความผิดปกติ บางชนิดซึ่งสามารถช่วยในการวินิจฉัยโรคของแพทย์ได้ โดยทั่วไปการตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้องไม่ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวด เพราะเป็นเพียงการใช้หัวตรวจเคลื่อนไปบนผิวหน้าท้องภายนอก ซึ่งไม่ต้องมีการใช้ยาชาหรือฉีดยา อีกทั้งคลื่นเสียงที่ใช้ก็มีความปลอดภัยและไม่ก่อให้เกิดอันตราย โดยการตรวจ

สุขภาพส่วนใหญ่จะมีการอัลตร้าซาวด์อยู่ 2 ส่วน คือ

1.การอัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนบน (Ultrasound Upper Abdomen หรือ Upper Adomen Ultrasonography)

2.การอัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนล่าง (Ultrasound Lower Abdomen หรือ Lower Adomen Ultrasonography)


การตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนบน

เป็นการตรวจดูอวัยวะช่องท้องส่วนบนเหนือระดับสะดือขึ้นไป ได้แก่ ตับ, ม้าม, ถุงน้ำดี, ท่อน้ำดีส่วนต้น, ไต และหลอดเลือดแดงใหญ่, ตับอ่อน (บางรายเห็นได้บางส่วน) ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ เช่น มีก้อนที่ผิดปกติ นิ่วที่ไต นิ่วที่ถุงน้ำดี เป็นต้น ผู้ที่จะตรวจส่วนใหญ่คือผู้ที่มีอาการปวดท้องเรื้อรัง หรือมีอายุตั้งแต่ 30 ปี ขึ้นไป ตรวจได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง


การตรวจอัลตร้าซาวช่องท้องส่วนล่าง

เป็นการตรวจดูอวัยวะของช่องท้องส่วนล่างต่ำกว่าระดับสะดือลงไป ได้แก่ มดลูก, รังไข่ (หญิง), ขนาดของต่อมลูกหมาก (ชาย), กระเพาะปัสสาวะ, ไส้ติ่ง และบริเวณช่องท้องส่วนล่าง อื่นๆ ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ เช่น ถุงน้ำในรังไข่, ก้อนเนื้อในมดลูก เป็นต้น

การตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนล่าง มักจะตรวจกันมากในกลุ่มผู้หญิงที่อายุ 30 ปีขึ้นไป หรือกลุ่มที่ปวดท้องประจำเดือนเป็นประจำ หรือประจำเดือนมามากมาน้อย ผิดปกติ ตรวจโดยใช้หัวตรวจตรวจบริเวณหน้าท้อง การตรวจด้วยวิธีนี้จะต้องตรวจในขณะที่ปวดปัสสาวะมากพอสมควร (ผู้เข้ารับการตรวจจึงควรดื่มน้ำเปล่าและต้องกลั้นปัสสาวะ) ทั้งนี้เนื่องจากลมในลำไส้จะบดบังมดลูกและรังไข่ในผู้หญิงหรือต่อมลูกหมากในผู้ชาย ทำให้มองเห็นภาพอวัยวะได้ไม่ชัดเจน แต่เมื่อมีน้ำในกระเพาะปัสสาวะมากพอทำ กระเพาะปัสสาวะจะช่วยให้เห็นมดลูก รังไข่ ต่อมลูกหมาก หรือนิ่วในกระเพาะปัสสาวะได้


ทำไมต้องตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้อง?

1.เพื่อตรวจสุขภาพโดยทั่วไปต่ออวัยวะภายในช่องท้องตามช่วงอายุ หรือตามโปรแกรมในรายการตรวจสุขภาพเพื่อหาความผิดปกติใด ๆ ในขณะที่ยังไม่มีอาการ เช่น นิ่วในไต นิ่วในถุงน้ำดี ก้อนเนื้อในตับ

2.ตรวจกรณีที่สงสัยว่าจะมีก้อนในช่องท้อง, ช่วยแยกว่าก้อนนั้นน่าจะมาจากอวัยวะใดและลักษณะของก้อนนั้นว่ามีส่วนประกอบเป็นก้อนเนื้อหรือถุงน้ำ

3.ตรวจเมื่อมีอาการปวด ตึง หรือแน่นท้องประจำหรือเรื้อรัง หรือมีการเพิ่มขนาดของอวัยวะในช่องท้อง หรือผลเลือดตับผิดปกติ

4.เพื่อนำทางในการตัดเนื้อเยื่อที่อยู่ลึกในร่างกายไปตรวจ เพื่อเพิ่มความแม่นยำมากขึ้น

5.ใช้ตรวจซ้ำเพื่อติดตามผล เนื่องจากความผิดปกติบางอย่างที่ได้รับการรักษาไปแล้ว หรือเพื่อเฝ้าดูการเปลี่ยนแปลงของความผิดปกตินั้น ๆ


การเตรียมตัวอย่างไรถ้าต้องตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้อง

1.ในวันที่ทำการตรวจที่ต้องการตรวจ การตรวจช่องท้องส่วนบนควรงดอาหารที่มีไขมันและเครื่องดื่มอย่างน้อย 6 ชั่วโมงขึ้นไป

2.การตรวจช่องท้องส่วนล่างควรดื่มน้ำเปล่า (อย่างน้อย 500ml) และกลั้นปัสสาวะไว้


ขั้นตอนการตรวจเป็นอย่างไร

การตรวจอัลตราซาวด์จะให้การตรวจโดยแพทย์ ผู้ป่วยจะนอนบนเตียง แพทย์จะทาผิวหนังในบริเวณที่ตรวจด้วยเจล (Gel) เย็นๆเหมือนเจลทั่วไป เพื่อช่วยการส่งผ่านคลื่นเสียงจากหัวตรวจ ผ่านผิวหนังเข้าไปดูอวัยวะต่างๆ ในขณะตรวจแพทย์จะกดหัวเครื่องตรวจบนผิวหนัง/ร่างกายส่วนที่จะตรวจเบาๆ เคลื่อนไปจนทั่วบริเวณที่ตรวจ โดยแพทย์และผู้ป่วยจะมองเห็นภาพอวัยวะจากการตรวจบนจอเครื่องตรวจไปพร้อม ๆ กัน การตรวจจะใช้เวลาประมาณ 10-45 นาที ขึ้นกับตำแหน่งอวัยวะที่ต้องการตรวจและความผิดปกติ

หลังการตรวจอัลตร้าซาวด์มักไม่มีผลข้างเคียงใด ๆ และสามารถกลับบ้านได้ทันที ผู้ป่วยจะสามารถขับรถ ดื่มน้ำ รับประทานอาหาร และทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามปกติ ผลการตรวจอัลตราซาวด์ส่วนใหญ่ใช้เวลาไม่นานหลังจากการตรวจเสร็จสิ้น ส่วนมากจะมีการวิเคราะห์ภาพที่ได้จากการอัลตราซาวด์และส่งรายงานไปยังแพทย์ที่สั่งตรวจ โดยแพทย์อาจอธิบายหรือพูดคุยเกี่ยวกับผลลัพธ์การตรวจได้ภายในวันนั้นเลยว่าปกติหรือมีความผิดปกติบริเวณอวัยวะส่วนไหนอย่างไร

 


สนใจแพ็กเกจ คลิ๊ก

แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

แพ็กเกจและโปรโมชั่น

ล้มรถ รถชน มาวัฒนแพทย์ไม่ต้องเสียสักบาท มี พ.ร.บ. คุ้มครองทันที 30,000 บาท
   
ดูรายละเอียด
บัตรสมาชิก WATTANAPAT THE EXCLUSIVE
5,000

บาท

ดูรายละเอียด
โครงการเบิกจ่ายตรงค่ารักษาพยาบาลกับกรมบัญชีกลาง
   
ดูรายละเอียด
แพ็กเกจคลอด วัฒนแพทย์ ตรัง
   
ดูรายละเอียด
โปรแกรมกิจกรรมบำบัดสำหรับเด็ก กระตุ้นพัฒนาการ เสริมสมาธิ
750

บาท

ดูรายละเอียด

บทความเพื่อสุขภาพ

โควิด JN.1 อาการเป็นอย่างไร ทำความเข้าใจกับตัวใหม่ล่าสุด
โควิด JN.1 อาการเป็นอย่างไร ทำความเข้าใจกับตัวใหม่ล่าสุด
โควิด JN.1 อาการเป็นอย่างไร ทำความเข้าใจกับตัวใหม่ล่าสุด โควิด JN.1 อาการเป็นอย่างไร? ทำความเข้าใจกับตัวใหม่ล่าสุด!

    สายพันธุ์โควิด...
ดูรายละเอียด

6 ขั้นตอน ยื่นขอ ค่าคลอดบุตร ค่าสงเคราะห์บุตร ผ่านประกันสังคมออนไลน์ (e-Self Service)
6 ขั้นตอน ยื่นขอ ค่าคลอดบุตร ค่าสงเคราะห์บุตร ผ่านประกันสังคมออนไลน์ (e-Self Service)
6 ขั้นตอนยื่นขอค่าคลอดบุตรค่าสงเคราะห์บุตรผ่านประกันสังคมออนไลน์ (e-Self Service) เข้าเว็บไซต์ประกันสังคม www.sso.go.th
ดูรายละเอียด
ทำไมซื้อยาทานเองน่ากลัวกว่าผี
ทำไมซื้อยาทานเองน่ากลัวกว่าผี
ทำไมซื้อยาทานเองน่ากลัวกว่าผี

เมื่อมีความเจ็บป่วยไม่สบายเกิดขึ้น สิ่งแรกที่ทุกคนคิดถึงก็คงเป็น “ยา” และช่องทางการได้มาซึ่...
ดูรายละเอียด

ลูกร้องตอนกลางคืน เพราะไม่สบาย หรือเป็นโคลิค
ลูกร้องตอนกลางคืน เพราะไม่สบาย หรือเป็นโคลิค
ลูกร้องตอนกลางคืน เพราะไม่สบาย หรือเป็นโคลิค เด็กร้องไห้ มีสาเหตุมาจากอะไร

การที่ลูกรักของคุณพ่อและคุณแม่มือใหม่มีอาการร้องไห้ไม่หยุด เด็กบางคนอาจร้อ...
ดูรายละเอียด

ออกซิเจนบำบัด ช่วยรักษาแผลเบาหวานได้แค่ไหน
ออกซิเจนบำบัด ช่วยรักษาแผลเบาหวานได้แค่ไหน
การทำออกซิเจนบำบัดเพื่อรักษาแผลเบาหวาน

โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่มีผลกระทบต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย โดย 1 ในอาการขึ้นชื่อที่ที่กัลงวลของผู้ป่วยเบาหวาน...
ดูรายละเอียด

มะเร็งตับ ไม่ใช่สายดื่มหนักก็เสี่ยง
มะเร็งตับ ไม่ใช่สายดื่มหนักก็เสี่ยง
โรคมะเร็งตับ กับการดื่มแอลกอฮอล์ โรคมะเร็งตับ

เป็นมะเร็งที่พบได้มากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของโรคมะเร็งที่เกิดในผู้ชายไทย โดยมักพบในคนอายุ 30-70 ปี และพบไ...
ดูรายละเอียด

อะดีโนไวรัส น่ากลัวแค่ไหนป้องกันยังไงดี
อะดีโนไวรัส น่ากลัวแค่ไหนป้องกันยังไงดี

อะดีโนไวรัส คืออะไรติดแล้วมีอาการอย่างไรบ้าง

อะดีโนไวรัส (Adenovirus) เป็นไวรัสที่ส่งผลให้เกิดอาการป่วยในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ โดยเฉพาะเด็กเล็ก อายุ...
ดูรายละเอียด

ทำอย่างไรเมื่อลูกติดไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ A
ทำอย่างไรเมื่อลูกติดไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ A
ไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1 เอ็น1 (Influenza A (H1N1)

เป็นโรคที่แพร่ติดต่อระหว่างคนสู่คน พบที่ประเทศเม็กซิโก และสหรั...
ดูรายละเอียด

อัลตร้าซาวด์ช่องท้องบอกอะไรเราได้บ้าง
อัลตร้าซาวด์ช่องท้องบอกอะไรเราได้บ้าง
อัลตร้าซาวด์ช่องท้อง 1 ที ตรวจดูอวัยวะในร่างกายได้เป็น 10 แล้วอัลตร้าซาวด์ช่องท้องนี้บอกโรคอะไรเราได้บ้าง

 

อัล...
ดูรายละเอียด

จะเป็นอย่างไร หากลูกไม่ได้รับวัคซีนตามช่วงอายุ
จะเป็นอย่างไร หากลูกไม่ได้รับวัคซีนตามช่วงอายุ
วัคซีนหลักสำหรับลูกน้อยนั้นสำคัญยังไง ทำไมถึงต้องฉีดให้ตรงวัย และตรงเวลา

การฉีดวัคซีนเด็กวัยแรกเกิดจนถึงอายุ 12 ปี นับว่าเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ผู้ปกค...
ดูรายละเอียด

หากติดโควิด-19 จะต้องทำอย่างไร รวมทุกเรื่องต้องรู้เอาไว้ที่นี่
หากติดโควิด-19 จะต้องทำอย่างไร รวมทุกเรื่องต้องรู้เอาไว้ที่นี่

กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกำหนดให้โควิด-19 เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป โดยจะมีการนำ พ.ร.บ. โรคติดต่อ 255...
ดูรายละเอียด

โรคไหนบ้างที่พบได้จากการตรวจ Ultrasound
โรคไหนบ้างที่พบได้จากการตรวจ Ultrasound

ตรวจอัลตร้าชาวด์เช็คความผิดปกติ

การอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound หรือ Ultrasound scanning) คือการตรวจวินิจฉัยโรคโดยการใช้คลื่นเสียงกำลังสูงสะท้อนให้เก...
ดูรายละเอียด

มือ เท้า ปาก อาการเริ่มต้นที่ควรพาลูกมาหาหมอ
มือ เท้า ปาก อาการเริ่มต้นที่ควรพาลูกมาหาหมอ
อาการและภาวะแทรกซ้อนของโรคมือเท้าปาก โรคมือเท้าปาก เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส พบได้บ่อยในทารกและเด็กเล็ก ทำให้มีอาการไข้ เป็นแผลในป...
ดูรายละเอียด
ออกกำลังกายทุกวัน ก็เสี่ยงหัวใจวายได้
ออกกำลังกายทุกวัน ก็เสี่ยงหัวใจวายได้

การออกกำลังกายทำให้ระดับความดันโลหิต ไขมัน, น้ำตาลในเลือด และ น้ำหนักลดลง ส่งผลให้ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ แต่ทำไมยังมีข่าวว่า คนทั่วไปหรือแ...
ดูรายละเอียด

ปวดท้องตรงนี้ ป่วยตรงไหน
ปวดท้องตรงนี้ ป่วยตรงไหน
ถ้าคุณมีอาการปวดท้องจุดเดิมบ่อยๆ นั่นอาจเป็นสัญญาณที่บอกได้ว่ามีความผิดปกติบางอย่างของอวัยวะในช่องท้อง

ดังนั้น ต้องหมั่นสั...
ดูรายละเอียด

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ จำเป็นแค่ไหน ทำไมต้องฉีดทุกปี
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ จำเป็นแค่ไหน ทำไมต้องฉีดทุกปี
วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ เพราะเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่จะมีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์อยู่เรื่อยๆ ในการผลิตวัคซีนแต่ละปี จึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์...
ดูรายละเอียด
โรคฝีดาษลิง (Monkeypox)
โรคฝีดาษลิง (Monkeypox)
โรคฝีดาษลิง (Monkeypox)

ถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อปีค.ศ. 1958 ช่วงการระบาดของโรคที่คล้ายไข้ทรพิษหรือ ฝีดาษ โดยพบในบริเวณที่เลี้ยงลิงไว้เพื่อการวิจัย ต...
ดูรายละเอียด

ความดันโลหิตสูง บั่นทอนสุขภาพโดยไม่รู้ตัว
ความดันโลหิตสูง บั่นทอนสุขภาพโดยไม่รู้ตัว
ความดันโลหิตสูง บั่นทอนสุขภาพโดยไม่รู้ตัว

ภาวะความดันโลหิตสูง (Hypertension) คือ การมีความดันโลหิตค่าบนสูงเกินกว่า 140 มม.ปรอท คือ ค่าล่างสูงกว่า 90 มม.ปรอท...
ดูรายละเอียด