ทำอย่างไรเมื่อลูกติดไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ A

ไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1 เอ็น1 (Influenza A (H1N1)


เป็นโรคที่แพร่ติดต่อระหว่างคนสู่คน พบที่ประเทศเม็กซิโก และสหรัฐอเมริกา แล้วแพร่ไปยังอีกหลายประเทศ และล่าสุดพบระบาดในประเทศไทย กลุ่มช่วงอายุที่พบมากที่สุดคือ วัยเด็กเล็กและวัยอนุบาล


ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A เกิดจากเชื้ออะไร

เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1 (A/H1N1) เป็นเชื้อตัวใหม่ที่ไม่เคยพบมาก่อน เกิดจากการผสมสารพันธุกรรมระหว่างเชื้อไข้หวัดใหญ่ของคน สุกร และนก


ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A ติดต่ออย่างไร

การแพร่ติดต่อจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง เกิดขึ้นได้ง่าย เกิดจากถูกผู้ป่วยไอจามรดโดยตรง หรือหายใจเอาฝอยละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลายในระยะ 1 เมตร เนื่องจากเชื้อไวรัสอยู่ในเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย แต่บางรายอาจได้รับเชื้อทางอ้อม ผ่านทางมือ หรือสิ่งของเครื่องใช้ที่ปนเปื้อนเชื้อ เช่น แก้วน้ำ ลูกบิดประตู โทรศัพท์ ผ้าเช็ดมือ เป็นต้น เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางจมูก ตา ปาก ผู้ป่วยอาจเริ่มแพร่เชื้อได้ตั้งแต่ 1 วันก่อนป่วย ช่วง 3 วันแรก จะแพร่เชื้อได้มากที่สุด ระยะแพร่เชื้อมักไม่เกิน 7 วัน


อาการเมื่อรับเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A

ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเริ่มมีอาการหลังจากได้รับเชื้อไวรัส1-3 วัน น้อยรายที่นานถึง 7 วัน อาการป่วยใกล้เคียงกันกับโรคไข้หวัดใหญ่ ที่เกิดขึ้นทั่วไป เช่น มีไข้ ปวดศรีษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย ไอ เจ็บคอ อาจมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเสียด้วย ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง หายป่วยได้โดยไม่ต้องนอนรักษาในโรงพยาบาล อาการจะทุเลา และหายป่วยภายใน 5-7 วัน แต่บางรายที่มีอาการปวดอักเสบรุนแรง จะมีอาการหายใจเร็ว เหนื่อย หอบ หายใจลำบาก ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้


การรักษาไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A

ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง

ในกลุ่มที่มีอาการรุนแรง เช่น

  1. ไข้สูงเฉียบพลัน

  2. ปวดศีรษะอย่างหนัก

  3. มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสียรุนแรง

ต้องรีบไปโรงพยาบาลทันที แพทย์จะพิจารณาให้ยาต้านไวรัส คือ ยาโอลเซลทามิเวียร์ (oseltamivir) เป็นยาชนิดรับประทาน หากผู้ป่วยได้รับยาภายใน 2 วันหลังเริ่มป่วย จะให้ผลการรักษาดี 


ผู้ป่วยที่อาการไม่มาก

อาการของไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ A ที่ไม่รุนแรงมากนั้นจะมี ไข้ต่ำๆ ตัวไม่ร้อนจัด และยังรับประทานได้ อาจไปพบแพทย์ที่คลิกนิก หรือขอรับยา และคำแนะนำจากเภสัชกรใกล้บ้าน และดูแลรักษาที่บ้านได้ดังนี้

  1. รับประทานยารักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ พาราเซตามอล ยาละลายเสมหะ วิตามิน เป็นต้น และเช็ดตัวลดไข้เป็นระยะ ด้วยน้ำสะอาดไม่เย็น

  2. ดื่มน้ำสะอาด และน้ำผลไม้มากๆ งดดื่มน้ำเย็น

  3. พยายามรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ได้มาพอเพียง เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ไข่ ผัก ผลไม้ เป็นต้น

  4. ไม่จำเป็นต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ ยกเว้น ติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ซึ่งต้องรับประทานยาจนหมด ตามแพทย์สั่ง เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อดื้อยา

  5. ให้นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ในห้องที่มีอากาศถ่ายเทดี


ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิด A/H1N1 การป้องกันไม่ให้ติดเชื้อได้ดังนี้

  1. หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่

  2. หากต้องการดูแลผู้ป่วย ควรสวมหน้ากากอนามัย และให้ผู้ป่วยสวมหน้ากากอนามัยด้วย หลังดูแลผู้ป่วยทุกครั้ง ควรรีบล้างมือด้วยน้ำ และสบู่ให้สะอาดทันที

  3. ไม่ใช้แก้วน้ำ หลอดดูดน้ำ ช้อนอาหาร ผ้าเช็ดมือ ผ้าเช็ดหน้าร่วมกับผู้อื่น โดยเฉพาะผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่

  4. ใช้ช้อนกลางทุกครั้ง เมื่อรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น

  5. หมั่นล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลัง ไอ จาม

การป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อ

  1. หากป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ ควรหยุดงาน หยุดเรียน เป็นเวลา 3-7 วัน ซึ่งจะช่วยลดการแพร่ระบาดได้มาก

  2. หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้อื่น

  3. สวมหน้ากากอนามัย เมื่ออยู่กับผู้อื่น หรือใช้ทิชชูปิดจมูก ปาก ทุกครั้งที่ไอ จาม ทิ้งทิชชูลงในถังขยะที่มีฝาปิด แล้วล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำ และสบู่

บทความที่ใกล้เคียง 

 




คลินิกเด็ก"ไว้ใจ"วัฒนแพทย์ 

หมอเด็กพร้อมดูแล "24 ชั่วโมง"  


แพ็กเกจและโปรโมชั่น

วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี (IPD Vaccine)
2,899

บาท

ดูรายละเอียด
แพ็กเกจตรวจภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
2,499

บาท

ดูรายละเอียด
แพ็กเกจวัคซีนเด็ก ชุดเหมาจ่าย
6,599

บาท

ดูรายละเอียด

บทความเพื่อสุขภาพ

ทำความรู้จัก ไอกรน ภัยร้ายของเด็กเล็ก ที่พ่อแม่ต้องระวัง
ทำความรู้จัก ไอกรน ภัยร้ายของเด็กเล็ก ที่พ่อแม่ต้องระวัง
“ไอกรน” โรคติดต่อที่ทำให้ไอไม่หยุด ที่พ่อแม่ต้องเฝ้าระวัง!

หากลูกน้อยของคุณพ่อคุณแม่มีอาการไอแห้งๆ ไข้ต่ำๆ ติดต่อกันนานหลายวัน ต้องระวัง &...
ดูรายละเอียด

รวมทริคดีๆ ให้คุณพ่อ คุณแม่ ดูแลสุขภาพลูก สู้เปิดเรียนปลายฝน ต้นหนาว
รวมทริคดีๆ ให้คุณพ่อ คุณแม่ ดูแลสุขภาพลูก สู้เปิดเรียนปลายฝน ต้นหนาว
รวมทริคดีๆ ให้คุณพ่อ คุณแม่ ดูแลสุขภาพลูก สู้เปิดเรียนปลายฝน ต้นหนาว

เมื่ออากาศเปลี่ยนแปลงจากฤดูฝนเป็นฤดูหนาว สภาพร่างกายของเด็กๆ ยังอาจปรับตัวไม่ทัน ...
ดูรายละเอียด

ทำไมไข้หวัดใหญ่ในเด็ก ถึงอันตรายกว่าผู้ใหญ่
ทำไมไข้หวัดใหญ่ในเด็ก ถึงอันตรายกว่าผู้ใหญ่
ทำไมไข้หวัดใหญ่ในเด็ก ถึงอันตรายกว่าผู้ใหญ่  

ไข้หวัดใหญ่สามารถส่งผลกระทบต่อทุกวัย แต่ในเด็ก โดยเฉพาะกลุ่มเด็กเล็ก พวกเขามีความเสี่ยงมากกว่าผู้ใหญ...
ดูรายละเอียด

เช็กอาการแรกเริ่มของ RSV สัญญาณแรกที่บ่งบอกว่าลูกน้อยอาจติดเชื้อไวรัส
เช็กอาการแรกเริ่มของ RSV สัญญาณแรกที่บ่งบอกว่าลูกน้อยอาจติดเชื้อไวรัส

เมื่อเริ่มเข้าช่วงหน้าฝน ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่อาการป่วยมากมายจะกลับมา ทั้งไข้ ไอ หวัด ไ...
ดูรายละเอียด

ทำอย่างไรดี เมื่อลูกไอบ่อย
ทำอย่างไรดี เมื่อลูกไอบ่อย
ทำอย่างไรดี เมื่อลูกไอบ่อย

การที่ลูกไอบ่อยเป็นเรื่องที่ทำให้พ่อแม่หลายคนกังวลใจ แต่การรู้จักสาเหตุและวิธีการดูแลที่เหมาะสมสามารถช่...
ดูรายละเอียด

สนุกกับกิจกรรมพร้อมพัฒนาลูกน้อยอย่างถูกหลัก ด้วย กิจกรรมบำบัด
สนุกกับกิจกรรมพร้อมพัฒนาลูกน้อยอย่างถูกหลัก ด้วย กิจกรรมบำบัด
กิจกรรมบำบัด กระตุ้นพัฒนาการเด็ก ทำอะไรได้บ้าง กิจกรรมบำบัด กระตุ้นพัฒนาการเด็ก มีอะไรบ้างและช่วยพัฒนาการด้านใด (Treatment Program) 1. Child Developme...
ดูรายละเอียด
กิจกรรมบำบัด สำคัญอย่างไรสำหรับเด็กๆ
กิจกรรมบำบัด สำคัญอย่างไรสำหรับเด็กๆ
พัฒนาประสาทสัมผัสองค์รวมของเด็ก ด้วยกิจกรรมบำบัด

กิจกรรมบำบัดคืออะไร? 

กิจกรรมบำบัดเป็นการบำบัดรักษา เพื่อฟื้นฟูความสามารถในการทำกิจวัตรป...
ดูรายละเอียด

ทำอย่างไรเมื่อลูกติดไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ A
ทำอย่างไรเมื่อลูกติดไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ A
ไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1 เอ็น1 (Influenza A (H1N1)

เป็นโรคที่แพร่ติดต่อระหว่างคนสู่คน พบที่ประเทศเม็กซิโก และสหรั...
ดูรายละเอียด

3 ท่าเคาะปอดเมื่อลูกมีเสมหะ
3 ท่าเคาะปอดเมื่อลูกมีเสมหะ
3 ท่าเคาะปอด ลดเสมหะลูกน้อย ที่พ่อแม่ต้องรู้

อาการไอ และมีเสมหะ เป็นหนึ่งในอาการป่วยยอดฮิตที่ลูกน้อยเป็นอยู่ประจำ คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจรู้สึกกังวลใจเวลาที...
ดูรายละเอียด

โรคหอบหืดในเด็ก สังเกตจากอะไร?
โรคหอบหืดในเด็ก สังเกตจากอะไร?
จะรู้ได้อย่างไร ว่าลูกเป็นโรคหอบหืด การสังเกตอาการ และการรักษา

โรคหอบหืด คืออะไร?

โรคหืด คือ โรคที่หลอดลมมีการตีบแคบฉับพลัน เนื่องจากหลอดลมมีก...
ดูรายละเอียด

จะเป็นอย่างไร หากลูกไม่ได้รับวัคซีนตามช่วงอายุ
จะเป็นอย่างไร หากลูกไม่ได้รับวัคซีนตามช่วงอายุ
วัคซีนหลักสำหรับลูกน้อยนั้นสำคัญยังไง ทำไมถึงต้องฉีดให้ตรงวัย และตรงเวลา

การฉีดวัคซีนเด็กวัยแรกเกิดจนถึงอายุ 12 ปี นับว่าเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ผู้ปกค...
ดูรายละเอียด

เมนูแนะนำ เมื่อลูกน้อยเป็นโรค มือ เท้า ปาก
เมนูแนะนำ เมื่อลูกน้อยเป็นโรค มือ เท้า ปาก
โรคมือเท้าปาก (Hand Foot Mouth Disease) 

เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส สายพันธุ์ที่พบบ่อย ได้แก่ Coxsackievirus A16 และ Enterovirus 71 ซึ่งโรคนี้มั...
ดูรายละเอียด

สถิติการป่วยของเด็กในช่วง 3 เดือนที่
สถิติการป่วยของเด็กในช่วง 3 เดือนที่ "วัฒนแพทย์"
สถิติการป่วยของเด็กในช่วง 3 เดือนที่ "วัฒนแพทย์"

เมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูฝนและเปิดเทอมไปเป็นที่เรียบร้อย สถิติผู้ป่วยที่เป็นเด็กจึงมีจำนวนเพิ่มขึ้น โรงพยาบาลวั...
ดูรายละเอียด

อาการแพ้อาหารในเด็ก เรื่องเล็กๆที่ไม่ควรละเลย
อาการแพ้อาหารในเด็ก เรื่องเล็กๆที่ไม่ควรละเลย

เมื่อลูกน้อยอายุ 4-6 เดือน เป็นวัยที่ควรได้รับอาหารเสริมนอกเหนือจากนมแม่ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่อาจมีความกังวลเรื่องการแพ้อาหารในเด็กเล็ก ไม่มั่นใจว่าลูกแพ้อาหารอะไ...
ดูรายละเอียด

ภาวะซีด หรือโลหิตจางในเด็ก
ภาวะซีด หรือโลหิตจางในเด็ก
ภาวะซีด หรือโลหิตจางในเด็ก

ปัญหาภาวะซีดในเด็ก ถือเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน ซึ่งอาจเกิดจากการขาดสารอาหาร พ่อแม่อาจแปลกใจว่าทำไมลูกถึงมีภาวะขาดสารอาหารไ...
ดูรายละเอียด

วัคซีนเสริมสำหรับเด็ก สำคัญเหมือนกับวัคซีน หลักหรือไม่
วัคซีนเสริมสำหรับเด็ก สำคัญเหมือนกับวัคซีน หลักหรือไม่
วัคซีนเสริมสำหรับเด็ก สำคัญเหมือนกับวัคซีน หลักหรือไม่

 ปัจจุบันวัคซีนสำหรับลูกน้อยมีทั้งหมด 2 กลุ่ม คือ วัคซีนที่อยู่ในแผนเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค ของ...
ดูรายละเอียด

MIS-C คืออะไรทำไมอันตรายถึงชีวิด
MIS-C คืออะไรทำไมอันตรายถึงชีวิด
MIS-C คืออะไร ทำไมอันตรายถึงชีวิต

MIS-C มักเกิดขึ้น 2-6 สัปดาห์หลังจากเด็กและวัยรุ่นหายป่วยจากโควิด-19 อายุเฉลี่ยของเด็กที่มีรายงานคือ 8 ปี นอกจากน...
ดูรายละเอียด

ภัยร้ายของลูกน้อย โรคไวรัส RSV
ภัยร้ายของลูกน้อย โรคไวรัส RSV

 

...

ดูรายละเอียด