ความดันโลหิตสูง ไม่ใช่เรื่องปกติ


โรคความดันโลหิตสูงถือเป็นภัยเงียบที่น่ากลัวต่อร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อหัวใจของเรา ทำให้เกิดโรคร้ายตามมา ไม่ว่าจะเป็น ภาวะหัวใจวาย โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ความน่ากลัวของโรคความดันโลหิตสูงคือ เป็นโรคที่มักไม่มีอาการ และจะเป็นโรคเรื้อรังที่รุนแรงถ้าไม่สามารถควบคุมโรคได้


อาการความดันโลหิตสูงเป็นอย่างไร?

ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่มักจะไม่แสดงอาการแต่อย่างใด อาจมีอาการปวดมึนท้ายทอย ตึงที่ต้นคอ เวียนศีรษะ บางรายอาจมีอาการปวดศีรษะตุบๆ เหมือนไมเกรน ในผู้ป่วยที่เป็นมานาน อาจมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ใจสั่น นอนไม่หลับ  และเมื่อมีอาการมากอาจโคมา และเสียชีวิตได้

หากปล่อยไว้นาน ไม่รักษา! อาจส่งผลเสียต่อร่างกายดังนี้

  • เลือดไปเลี้ยงไตไม่พอ ไตวายเรื้อรัง
  • หลอดเลือดหัวใจหนา หัวใจขาดเลือด หัวใจวาย
  • หลอดเลือดตีบ โป่งพอง เลือดไปเลี้ยงอวัยวะได้น้อยลง
  • มีผลต่อเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงจอประสาทตา ทำให้จอประสาทตาเสื่อม
  • เป็นสาเหตุของอัมพฤกษ์ อัมพาต

 ความดันโลหิตสูง ทำคุณเสี่ยงอะไรบ้าง | นาทีสุขภาพ กับวัฒนแพทย์


ระดับความดันโลหิตเท่าไรเสี่ยงเป็นความดันโลหิตสูง

เราสามารถเช็คว่าเป็นความดันโลหิตสูงได้หรือไม่ ด้วยวิธีการวัดความดันโลหิต หากมีค่าความดันซิสโตลี (ค่าความดันตัวบน) มากกว่า 140 มิลลิเมตรปรอท (mm/Hg) หรือ ค่าความดันไดแอสโตลี (ค่าความดันตัวล่าง) มากกว่าหรือเท่ากับ 90 (mm/Hg) โดยวัดในขณะที่ผู้ป่วยอยู่ในสภาวะพัก นั่นหมายถึงคุณกำลังมีอาการของโรคความดันโลหิตสูง 


ความดันโลหิตสูง เพชฌฆาตเงียบทำลายหัวใจ

1. โรคความดันโลหิตสูง คือ ภาวะแรงกดดันในหลอดเลือดแดงที่มีค่าสูงเกินปกติ (140/90 มิลลิเมตรปรอท)

2. ความดันโลหิตสูง ส่งผลให้หัวใจทำงานหนักขึ้น ทำให้ผนังหัวใจหนาตัวและถ้าไม่ได้รักษาอย่างถูกต้อง ผนังหัวใจจะยืดออกและเสียหน้าที่ ทำให้เกิดหัวใจโต และหัวใจวายได้ ดังนั้นถ้าป้องกันความดันโลหิตสูง ก็สามารถป้องกันอันตรายจากโรคหัวใจได้

3. ความดันโลหิตสูง ส่วนใหญ่ไม่มีอาการผิดปกติหรือสัญญาณเตือน ยกเว้นผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงระยะรุนแรงก็อาจมีอาการแสดง เช่น ปวดศีรษะรุนแรง หายใจได้สั้นลง เลือดกำเดาไหล

4. นอกจากโรคความดันโลหิตสูงที่เสี่ยงทำให้เกิดโรคหัวใจแล้ว ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ด้วย เช่น หากเป็นโรคเบาหวาน โรคคอเลสเตอรอลในเลือดสูง โรคอ้วน ก็สามารถเป็นโรคหัวใจได้เช่นกัน

5. สามารถป้องกันโรคความดันโลหิตสูงได้ด้วยการ ลดกินเกลือ (โซเดียม) เพิ่มการรับประทานผักผลไม้(รสหวานน้อย) ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์น้อยลง งดสูบบุหรี่ รวมถึงหลีกเลี่ยงการสูดดมควันบุหรี่


วิธีการวัดความดันด้วยตนเองที่บ้าน

  1. ไม่ดื่มชา กาแฟ สูบบุหรี่ หรือออกกำลังกายก่อนทำการวัด 30 นาที
  2. ก่อนทำการวัดควรถ่ายปัสสาวะให้เรียบร้อย
  3. นั่งเก้าอี้โดยให้หลังพิงพนัก เพื่อไม่ให้หลังเกร็งเท้าทั้ง 2 ข้าง วางราบกับพื้น เพื่อให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลายเป็นเวลา 5 นาที ก่อนวัดความดันโลหิต
  4. วัดความดันโลหิตในแขนข้างที่ไม่ถนัด หรือข้างที่มีความดันโลหิตสูงกว่า โดยวางแขนให้อยู่ในระดับเดียวกันกับหัวใจ
  5. ขณะวัดความดันโลหิตไม่กำมือ ไม่พูดคุยหรือขยับตัว

ค่าบนเครื่องวัดความดัน หมายถึงอะไร?

1. Systolic blood pressure (SBP) ตัวบน คือ ความดันของเลือดสูงสุดขณะหัวใจห้องล่างบีบตัว

2. Diastolic blood pressure (DBP) ตัวล่าง คือ ความดันเลือดที่ต่ำสุดขณะหัวใจห้องล่างคลายตัว

  • ความดันโลหิตเกณฑ์ปกติ คือ 120/80 (mm/Hg)
  • ความดันโลหิตค่อนข้างสูง แต่ยังอยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ 121-139/80-89 (mm/Hg)
  • ความดันโลหิตสูงมาก คือ ความดันโลหิตตัวบนมากกว่า (หรือเท่ากับ) 140 (mm/Hg) และตัวล่างมากกว่า (หรือเท่ากับ) 90 (mm/Hg)
  • ความดันโลหิตระดับอันตราย 160/100 (mm/Hg)

**ความดันโลหิตสูงระดับอ่อนหรือปานกลาง มักจะไม่มีอาการอะไร แต่มีการทำลายอวัยวะต่างๆ ไปทีละน้อยอย่างช้าๆ จนผู้ป่วยเกิดผลแทรกซ้อนเช่น หัวใจล้มเหลว หัวใจขาดเลือด ไตเสื่อมสมรรถภาพ หรืออัมพาต อัมพฤกษ์


 โรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา การรักษาความดันโลหิตถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง และจำเป็นต้องทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงที่อาจเกิดตามมาโดยหากทราบว่าตนเองเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงแล้ว ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัย ตรวจภาวะหัวใจโต ตรวจภาวะไตเสื่อม และตรวจหาโปรตีนในปัสสาวะ รวมถึงตรวจหาโรคร่วมที่มาพร้อมกับความดันโลหิตสูง เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง เป็นต้น

 

 

แพ็กเกจและโปรโมชั่น

โปรแกรมตรวจสุขภาพหัวใจ (Healthy Heart)
4,499

บาท

ดูรายละเอียด
แพ็กเกจตรวจสุขภาพจากอาการโควิด ในระยะยาว (Long Covid Checkup)
990

บาท

ดูรายละเอียด
แพ็กเกจตรวจสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด
6,999

บาท

ดูรายละเอียด
รวมฮิตแพ็กเกจวัคซีนป้องกันโรค
700

บาท

ดูรายละเอียด

บทความเพื่อสุขภาพ

 รู้จัก RSV ภัยเงียบที่มาคู่กับหน้าฝน ของผู้ใหญ่
รู้จัก RSV ภัยเงียบที่มาคู่กับหน้าฝน ของผู้ใหญ่
 รู้จัก RSV ภัยเงียบที่มาคู่กับหน้าฝน ของผู้ใหญ่

ในยุคที่โรคระบาดเกิดขึ้นบ่อยครั้ง การตระหนักถึงสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญมาก โดยเฉพาะโรคร้ายแรงบางโรคมั...
ดูรายละเอียด

ไขมันมันในเลือดสูงทำคุณเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด
ไขมันมันในเลือดสูงทำคุณเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด

 

เลือกอ่าน หัวข้อที่สนใจ • บทนำภาวะไขมันในเลือดสูงและความเสี่ยงของโรค...

ดูรายละเอียด
ความดันโลหิตสูง เสี่ยงโรคอะไรบ้าง
ความดันโลหิตสูง เสี่ยงโรคอะไรบ้าง
ความดันโลหิตสูง เสี่ยงโรคอะไรบ้าง

รู้จักโรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) เป็นภาวะที่ความดันโลหิตในหลอดเลือดสูงเกินระดับป...
ดูรายละเอียด

อัลตร้าซาวด์ช่องท้องบอกอะไรเราได้บ้าง
อัลตร้าซาวด์ช่องท้องบอกอะไรเราได้บ้าง
อัลตร้าซาวด์ช่องท้อง 1 ที ตรวจดูอวัยวะในร่างกายได้เป็น 10 แล้วอัลตร้าซาวด์ช่องท้องนี้บอกโรคอะไรเราได้บ้าง

อัลตร้าซา...
ดูรายละเอียด

นอนกรนอันตรายกว่าที่คิด
นอนกรนอันตรายกว่าที่คิด
ปัญหานอนกรน อาจมีอะไรซ่อนอยู่ ตรวจดูให้รู้ด้วย Sleep Test   นอนกรนเกิดจากอะไร?

การนอนกรน เกิดจากทางเดินหายใจส่วนบนถูกอุดกั้น โดยในขณะที่เราน...
ดูรายละเอียด

มะเร็งชนิดไหนผู้ชายเสี่ยงเป็นมากกว่า
มะเร็งชนิดไหนผู้ชายเสี่ยงเป็นมากกว่า
โรคมะเร็งร้ายแรง ที่ผู้ชายเสี่ยงที่สุด 3 อันดับ        โรคมะเร็ง ถือเป็นโรคยอดฮิตมีอัตราการเสียชีวิตสูง และยังเป็นโรคที่ไม่ว่าใครก็...
ดูรายละเอียด
เปิดสถิติโรคมะเร็งในผู้หญิงและผู้ชายไทย ใครเสี่ยงมากกว่า มะเร็งอะไรพบมากที่สุด
เปิดสถิติโรคมะเร็งในผู้หญิงและผู้ชายไทย ใครเสี่ยงมากกว่า มะเร็งอะไรพบมากที่สุด

โรคมะเร็ง เป็นอีกหนึ่งโรคร้ายที่คร่าชีวิตคนไทยมาแล้วหลายชีวิต และยังมีอัตราการเกิดโรคที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เรามาสรุปข้อมูลสถิติ จาก สถาบันมะเร็งแห่งช...
ดูรายละเอียด

ออกกำลังกายแค่ไหน Heart Rate Zone เท่าไหร่ ดีกับร่างกายคุณ
ออกกำลังกายแค่ไหน Heart Rate Zone เท่าไหร่ ดีกับร่างกายคุณ
Heart Rate Zone กับการออกกำลังกาย

Heart rate zone หรืออัตราการเต้นของหัวใจ ...
ดูรายละเอียด

หน้าฝนต้องระวัง โรคไข้ดิน
หน้าฝนต้องระวัง โรคไข้ดิน

 

โรคไข้ดิน หรือโรคเมลิออยด์ (Melioidosis) พบมากในฤดูฝนเป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในดินและน้ำสามารถพบได้ทั่วประเทศไทย ความรุ...
ดูรายละเอียด

โรคไหนบ้างที่พบได้จากการตรวจ Ultrasound
โรคไหนบ้างที่พบได้จากการตรวจ Ultrasound

ตรวจอัลตร้าชาวด์เช็คความผิดปกติ

การอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound หรือ Ultrasound scanning) คือการตรวจวินิจฉัยโรคโดยการใช้คลื่นเสียงกำลังสูงสะท้อนให้เก...
ดูรายละเอียด

ไทยเจอแล้ว! โควิดสายพันธุ์ย่อย “BA.2.75”
ไทยเจอแล้ว! โควิดสายพันธุ์ย่อย “BA.2.75”
ไทยพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 โอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2.75 คนแรกที่ จ.ตรัง แพทย์ระบุเชื้อรุนแรงกว่าสายพันธุ์ BA.5

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิ...
ดูรายละเอียด

ปวดท้องแบบไหน เสี่ยงนิ่วในถุงน้ำดี
ปวดท้องแบบไหน เสี่ยงนิ่วในถุงน้ำดี
ปวดท้องแบบไหนเสี่ยงนิ่วในถุงน้ำดี

อาการที่สามารถสังเกตได้นั้นไม่ได้มีเพียงการปวดท้องเพียงอย่างเดียว โดยอาการจะมีผลกับระบบทางเดินอาหาร เนื่องจากเกิดการอุดตัน...
ดูรายละเอียด

โควิดไม่ลงปอด แต่ทำไมหายแล้วยังรู้สึกเหนื่อย
โควิดไม่ลงปอด แต่ทำไมหายแล้วยังรู้สึกเหนื่อย
รู้จักภาวะ ‘ลองโควิด’ (LONG COVID)

‘ลองโควิด’ (LONG COVID) หรือเรียกได้อีกอย่างว่า POST-COVID SYNDROME อาจมีอาการคล้ายๆ เดิมที่เคยเป...
ดูรายละเอียด

เพราะหัวใจ ต้องการคนดูแล
เพราะหัวใจ ต้องการคนดูแล
เพราะหัวใจ ต้องการคนดูแล

ลองมาสำรวจตัวเองกันสักหน่อยว่า คุณทำสิ่งเหล่านี้บ้างหรือไม่

1.เครียดจากการทำงาน หรือการใช้ชีวิต 2.นอนไม่หลับ หลับไ...

ดูรายละเอียด
ตื่นมาปัสสาวะบ่อยกลางคืน ร่างกายกำลังบอกอะไร?
ตื่นมาปัสสาวะบ่อยกลางคืน ร่างกายกำลังบอกอะไร?
กลางคืนตื่นมาปัสสาวะบ่อย ร่างกายกำลังบอกอะไร?

มะเร็งต่อมลูกหมาก ถูกจัดให้เป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับต้นๆ ในผู้ชายไทย และยังคงมีแนวโน้มเพิ...
ดูรายละเอียด

Long Covid คืออะไร ทำไมถึงทำให้ร่างกายแย่ลง
Long Covid คืออะไร ทำไมถึงทำให้ร่างกายแย่ลง
Long Covid คืออะไร ทำไมถึงทำให้ร่างกายแย่ลง

โควิด-19 เป็นโรคติดเชื้อจากไวรัส SARS-CoV-2 ที่มีการระบาดกระจายเป็นวงกว้างตั้งแต่ปี&nb...
ดูรายละเอียด

ภาวะหัวใจสลาย
ภาวะหัวใจสลาย
ภาวะหัวใจสลาย (Broken heart syndrome)

มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า Stress-induced Cardiomyopathy, Takotsubo Cardiomyopathy หรือ Apical ballooning syndrome...
ดูรายละเอียด

ทำไมโควิด-19ในเด็ก ถึงต้องการการดูแลที่มากกว่า
ทำไมโควิด-19ในเด็ก ถึงต้องการการดูแลที่มากกว่า
ทำไมโควิด-19ในเด็ก ถึงต้องการการดูแลที่มากกว่า COVID-19 คืออะไร?

COVID-19 คือเชื้อไวรัสทางเดินหายใจ มักเกิดที่ระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง ทำให้เกิดอาการหลอด...
ดูรายละเอียด

ไขคำตอบ! ทำไมไม่จ่าย ยาฟาวิพิราเวียร์ ให้กับผู้ป่วยโควิดทุกคน
ไขคำตอบ! ทำไมไม่จ่าย ยาฟาวิพิราเวียร์ ให้กับผู้ป่วยโควิดทุกคน
ไขคำตอบ! ไม่จ่าย "ยาฟาวิพิราเวียร์" ให้กับผู้ป่วยโควิดทุกคน

กรมการแพทย์ ไขคำตอบเหตุผลไม่จ่ายยาฟาวิพิราเวียร์ ให้ก...
ดูรายละเอียด

อาการโควิดแบบไหน ให้เราดูแล
อาการโควิดแบบไหน ให้เราดูแล
อาการแบบไหน..ให้เราดูแล

2 กลุ่มอาการกับการให้การรักษา Covid-19 กับ โรงพยาบาลวัฒนแพทย์ ตรัง ด้วยสิทธิ์ สปสช.จากทางภาครัฐ มีดังนี้

 1.กลุ่มผู้ป่...

ดูรายละเอียด
การตรวจหานิ่วในถุงน้ำดี
การตรวจหานิ่วในถุงน้ำดี
นิ่วในถุงน้ำดี (Gallstone)  

เป็นโรคในระบบทางเดินน้ำดีที่พบได้บ่อย โดยนิ่วเกิดจากการตกตะกอนของหินปูนหรือคอเลสเตอรอลในน้ำดี อุบัติการ...
ดูรายละเอียด

การส่องกล้องกระเพาะอาหาร
การส่องกล้องกระเพาะอาหาร

 

...

ดูรายละเอียด