ปัสสาวะบ่อย หรือติดขัดเสี่ยงเป็นมะเร็งมากแค่ไหน

มะเร็งต่อมลูกหมาก กับสัญญาณที่ผู้ชายต้องระวัง


มะเร็งต่อมลูกหมากเป็นโรคที่พบเป็นอันดับ 4 ของผู้ชายไทย และยังพบว่ามีอัตราผู้ป่วยด้วยโรคดังกล่าว “เพิ่มขึ้นทุกปี” จากการศึกษาในต่างประเทศพบว่าผู้ชายที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปมีความเสี่ยง โดยมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากอยู่ที่ร้อยละ 16.72 ส่วนผู้ชายที่มีอายุประมาณ 60 ปี มีโอกาสตรวจเจอมะเร็งต่อมลูกหมากร้อยละ 50-60 โดยความเสี่ยงของโรคเพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้น และอาจสูงถึงร้อยละ 80 ในผู้ชายที่มีอายุ 80 ปีขึ้นไป

จากการศึกษาพบว่าประชากรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย มีอัตราการป่วยเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากน้อยกว่าประชากรในแถบยุโรป แอฟริกัน และอเมริกัน แต่ที่น่าสนใจคือในเมืองใหญ่ของทวีปเอเชียกลับพบว่ามีผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ เช่น ประเทศจีน ญี่ปุ่น กรุงเทพฯ ฮ่องกง เป็นต้น



สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งต่อมลูกหมากคืออะไร

  1. อายุที่เพิ่มสูงขึ้นมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากเพิ่มมากขึ้น พบมากในผู้ชายอายุ 65 ปีขึ้นไป ส่วนผู้ชายที่มีอายุต่ำกว่า 45 ปี พบผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากได้น้อยกว่า
  2. จากการศึกษารายงานพบว่าคนที่ทานอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ ไขมันสัตว์มากนั้นมีโอกาสเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากสูง จากการสำรวจประชากรประเทศญี่ปุ่นที่ทานอาหารจำพวกถั่ว ปลา จะพบมะเร็งต่อมลูกหมากในอัตราที่ต่ำ แต่เมื่อศึกษาประชากรญี่ปุ่นที่มีการอพยพไปอยู่ที่ซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกาหรือแอฟริกัน กลับป่วยเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากสูงเทียบเท่ากับชาวยุโรปและแอฟริกัน ทั้งที่แต่งงานกับชาวญี่ปุ่นด้วยกัน
  3. เปรียบเทียบระหว่างประชากรที่ได้รับแสงแดดตลอดปีกับประชากรทั่วโลก พบว่าประชากรที่ได้รับแสงแดดตลอดปีมีอัตราการป่วยเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากต่ำกว่า จึงมีการตั้งสมมติฐานว่าอาจเกี่ยวกับวิตามินดีที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค
  4. พันธุกรรมเป็นปัจจัยเสี่ยงที่แน่นอนของการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก พบว่าหากในครอบครัวใดมีพ่อและพี่ชายเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก น้องชายในครอบครัวนั้นมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดโรคด้วย

มะเร็งต่อมลูกหมากและวิธีสังเกตตัวเอง

  1. อาการทางปัสสาวะมีปัญหาต่อการแข็งตัวของอวัยวะเพศ
    • ไม่สามารถถ่ายปัสสาวะได้
    • ปัสสาวะต้องเบ่งนาน และปัสสาวะขัด
    • ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะตอนกลางคืน
    • ปัสสาวะอ่อนแรง
    • อาจมีอาการปวด แสบ ระหว่างถ่ายปัสสาวะ
  2. มีเลือดปนในปัสสาวะหรือปนกับอสุจิ
  3. อาจพบได้ว่ามีอาการปวดบริเวณหลังส่วนล่างหรือต้นขา

ทั้งนี้อาการที่กล่าวมาเป็นเพียงวิธีการสังเกตตนเองเบื้องต้นเท่านั้น ไม่จำเป็นเสมอไปว่าถ้าหากมีอาการดังกล่าวจะต้องป่วยเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก เนื่องจากบางอาการ เช่น อาการทางปัสสาวะที่ผิดปกติ อาจแสดงถึงอาการต่อมลูกหมากโตธรรมดาเท่านั้น แต่ถ้าหากมีอาการตามที่กล่าวมาควรพบแพทย์เพื่อทำการตรวจอย่างละเอียด เพราะอาการเบื้องต้นของมะเร็งต่อมลูกหมากมักมีอาการของต่อมลูกหมากโตนำมาก่อน


การวินิจฉัยมะเร็งต่อมลูกหมาก

  1. คลำก้นเพื่อตรวจดูลักษณะพื้นผิวของต่อมลูกหมาก หากขรุขระหรือแข็งก็อาจเป็นมะเร็งได้
  2. ตรวจดูค่า PSA ถ้าหากพบว่าสูงเกิน 4 มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากได้ แต่ค่า PSA ที่สูงก็ไม่ได้เป็นตัวบ่งชี้ว่าจะเป็นมะเร็งเสมอไป เพราะอาการของต่อมลูกหมากโตธรรมดาก็ส่งผลให้ค่า PSA สูงได้เช่นกัน รวมถึงการติดเชื้อหรือเซลล์แตกนั้นส่งผลให้ค่า PSA สูงได้ด้วย ดังนั้นหากพบความผิดปกติที่ค่า PSA แพทย์จะทำการติดตามผลต่อไป

มะเร็งต่อมลูกหมากและปัญหาการแข็งตัวของอวัยวะเพศ

การแข็งตัวของอวัยวะเพศที่มีปัญหามีความสัมพันธ์ต่อมะเร็งต่อมลูกหมากส่วนหนึ่งแต่ไม่ใช่ทั้งหมด พบว่ามะเร็งต่อมลูกหมากที่ส่งผลต่อการแข็งตัวของอวัยวะเพศนั้นต้องมีอาการของมะเร็งค่อนข้างมากจนไปกินเส้นประสาทบริเวณองคชาตทำให้การแข็งตัวลดลง

ทั้งนี้ที่พบบ่อยกว่าในเรื่องของการแข็งตัวของอวัยวะเพศที่มีปัญหามักเกี่ยวข้องกับอาการของ โรคหัวใจและหลอดเลือดหรือไขมันอุดตันในเส้นเลือดมากกว่า พบว่าผู้ป่วยบางรายที่ป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด อาจไม่มีอาการแน่นหน้าอกหรือเหนื่อยหอบเลย แต่กลับมีความผิดปกติในเรื่องการแข็งตัวของอวัยวะเพศแทน ซึ่งหากมีอาการดังกล่าวอาจเป็นได้ทั้งมะเร็งต่อมลูกหมาก โรคหัวใจและหลอดเลือด ก็เป็นได้ โดยทั่วไปพบว่าการแข็งตัวของอวัยวะเพศที่มีปัญหามักมีผลมาจากการรักษามะเร็งต่อมลูกหมากมากกว่า อย่างเช่นการผ่าตัด ฉายแสง หรือฝังแร่ ที่อาจทำให้เส้นประสาทที่เลี้ยงองคชาตถูกตัดออกไป จึงทำให้เกิดปัญหาในเรื่องของการแข็งตัว

แพ็กเกจและโปรโมชั่น

บัตรสมาชิก WATTANAPAT THE EXCLUSIVE
5,000

บาท

ดูรายละเอียด
แพ็กเกจตรวจสุขภาพจากอาการโควิด ในระยะยาว (Long Covid Checkup)
990

บาท

ดูรายละเอียด
รวมฮิตแพ็กเกจวัคซีนป้องกันโรค
700

บาท

ดูรายละเอียด
โปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปี Annual Check-Up
2,299

บาท

ดูรายละเอียด
การบำบัดด้วยออกซิเจนความดันสูง (HBOT)
2,500

บาท

ดูรายละเอียด

บทความเพื่อสุขภาพ

ตรวจ CEA เพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็งจากเลือด
ตรวจ CEA เพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็งจากเลือด
ตรวจ CEA เพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็งจากเลือด การตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็ง คืออะไร

การตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็ง เป็นการตรวจหาสารที่ผลิตจากเซลล์มะเร็ง โดยใช้วิ...
ดูรายละเอียด

BIRTHDAY PACKAGE ตรวจแล้วรู้อะไรบ้างนะ มาดูกัน
BIRTHDAY PACKAGE ตรวจแล้วรู้อะไรบ้างนะ มาดูกัน

ในปัจจุบันไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่มักมีพฤติกรรมที่ทำให้สุขภาพแย่ลง เช่น นอนดึก สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ทานอาหารรสจัดหรือปิ้งย่างบ่อยๆ ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิด...
ดูรายละเอียด

5 อาหารเจที่อาจเสี่ยงทำลายสุขภาพมากกว่าที่คาดคิด
5 อาหารเจที่อาจเสี่ยงทำลายสุขภาพมากกว่าที่คาดคิด
5 อาหารเจที่อาจเสี่ยงทำลายสุขภาพมากกว่าที่คาดคิด

แม้ว่าการเลือกบริโภคอาหารเจจะเป็นทางเลือกที่หลายคนมองว่าเป็นแนวทางในการรักษาสุขภาพ ด้วยการหลีกเลี่ยงการบริโ...
ดูรายละเอียด

 รู้จัก RSV ภัยเงียบที่มาคู่กับหน้าฝน ของผู้ใหญ่
รู้จัก RSV ภัยเงียบที่มาคู่กับหน้าฝน ของผู้ใหญ่
 รู้จัก RSV ภัยเงียบที่มาคู่กับหน้าฝน ของผู้ใหญ่

ในยุคที่โรคระบาดเกิดขึ้นบ่อยครั้ง การตระหนักถึงสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญมาก โดยเฉพาะโรคร้ายแรงบางโรคมั...
ดูรายละเอียด

ไขมันมันในเลือดสูงทำคุณเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด
ไขมันมันในเลือดสูงทำคุณเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด

 

เลือกอ่าน หัวข้อที่สนใจ • บทนำภาวะไขมันในเลือดสูงและความเสี่ยงของโรค...

ดูรายละเอียด
ความดันโลหิตสูง เสี่ยงโรคอะไรบ้าง
ความดันโลหิตสูง เสี่ยงโรคอะไรบ้าง
ความดันโลหิตสูง เสี่ยงโรคอะไรบ้าง

รู้จักโรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) เป็นภาวะที่ความดันโลหิตในหลอดเลือดสูงเกินระดับป...
ดูรายละเอียด

เสริมภูมิคุ้มกันเพื่อผู้ใหญ่และผู้สูงวัย ด้วยวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ และปอดอักเสบ (IPD)
เสริมภูมิคุ้มกันเพื่อผู้ใหญ่และผู้สูงวัย ด้วยวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ และปอดอักเสบ (IPD)
สูงวัยอุ่นใจ วัคซีนไข้หวัดใหญ่และวัคซีนป้องกันปอดอักเสบช่วยได้

การฉีดวัคซีนเพื่อเสริมภูมิคุ้มกันเราอาจจะมองว่าเป็นเรื่องสำหรับเด็ก แต่จริงๆ แล้...
ดูรายละเอียด

ทำไมผู้สูงวัย จึงควรได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่แบบ High Dose
ทำไมผู้สูงวัย จึงควรได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่แบบ High Dose

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ สำหรับผู้สูงอายุ

เพราะผู้สูงวัยนับเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายจากโรคไข้หวัดใหญ่สูงกว่าคนวัยหนุ่มสาว โดยจากสถิติพบว่า ผู้สู...
ดูรายละเอียด

อัลตร้าซาวด์ช่องท้องบอกอะไรเราได้บ้าง
อัลตร้าซาวด์ช่องท้องบอกอะไรเราได้บ้าง
อัลตร้าซาวด์ช่องท้อง 1 ที ตรวจดูอวัยวะในร่างกายได้เป็น 10 แล้วอัลตร้าซาวด์ช่องท้องนี้บอกโรคอะไรเราได้บ้าง

อัลตร้าซา...
ดูรายละเอียด

นอนกรนอันตรายกว่าที่คิด
นอนกรนอันตรายกว่าที่คิด
ปัญหานอนกรน อาจมีอะไรซ่อนอยู่ ตรวจดูให้รู้ด้วย Sleep Test   นอนกรนเกิดจากอะไร?

การนอนกรน เกิดจากทางเดินหายใจส่วนบนถูกอุดกั้น โดยในขณะที่เราน...
ดูรายละเอียด

สัญญาณไม่มีเสียงเตือน ของโรคที่พบบ่อยในผู้สูงวัย
สัญญาณไม่มีเสียงเตือน ของโรคที่พบบ่อยในผู้สูงวัย
สัญญาณเตือนที่ผู้สูงอายุควรตรวจสุขภาพ

ระบบต่างๆ ในร่างกายผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น ทำให้อาการแสดงของโรคหรือปัญหาสุขภาพหลายๆ อย่างไม่...
ดูรายละเอียด

มะเร็งชนิดไหนผู้ชายเสี่ยงเป็นมากกว่า
มะเร็งชนิดไหนผู้ชายเสี่ยงเป็นมากกว่า
โรคมะเร็งร้ายแรง ที่ผู้ชายเสี่ยงที่สุด 3 อันดับ        โรคมะเร็ง ถือเป็นโรคยอดฮิตมีอัตราการเสียชีวิตสูง และยังเป็นโรคที่ไม่ว่าใครก็...
ดูรายละเอียด
เปิดสถิติโรคมะเร็งในผู้หญิงและผู้ชายไทย ใครเสี่ยงมากกว่า มะเร็งอะไรพบมากที่สุด
เปิดสถิติโรคมะเร็งในผู้หญิงและผู้ชายไทย ใครเสี่ยงมากกว่า มะเร็งอะไรพบมากที่สุด

โรคมะเร็ง เป็นอีกหนึ่งโรคร้ายที่คร่าชีวิตคนไทยมาแล้วหลายชีวิต และยังมีอัตราการเกิดโรคที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เรามาสรุปข้อมูลสถิติ จาก สถาบันมะเร็งแห่งช...
ดูรายละเอียด

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ฉีดไว้กันอะไรได้บ้าง
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ฉีดไว้กันอะไรได้บ้าง
วัคซีนไข้หวัดใหญ่สำคัญยังไง แล้วทำไมเราถึงควรฉีด

โรคไข้หวัดใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza Virus) ซึ่งมีอยู่ 3 สายพันธุ์ คือ A , B และ...

ดูรายละเอียด
เลือกแพ็กเกจตรวจสุขภาพยังไง ให้ใช่สำหรับคุณ
เลือกแพ็กเกจตรวจสุขภาพยังไง ให้ใช่สำหรับคุณ
เทคนิคการเลือกแพ็กเกจตรวจสุขภาพ...ที่ใช่สำหรับคุณ

ปัญหาเรื่องสุขภาพอาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา การตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอจะเป็นการช่วยหาสาเหตุของโรคหรือควา...
ดูรายละเอียด

หน้าฝนต้องระวัง โรคไข้ดิน
หน้าฝนต้องระวัง โรคไข้ดิน

 

โรคไข้ดิน หรือโรคเมลิออยด์ (Melioidosis) พบมากในฤดูฝนเป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในดินและน้ำสามารถพบได้ทั่วประเทศไทย ความรุ...
ดูรายละเอียด

ทำไมต้องตรวจสุขภาพประจำปี
ทำไมต้องตรวจสุขภาพประจำปี

ตรวจสุขภาพ สำคัญกว่าที่คิด

ด้วยมลพิษมากมายในปัจจุบัน ส่งผลให้สุขภาพของคนเราย่ำแย่ตามไปด้วย หลายคนมองข้ามความสำคัญของการตรวจสุขภาพ เพราะเห็นว่าร่า...
ดูรายละเอียด

โรคไหนบ้างที่พบได้จากการตรวจ Ultrasound
โรคไหนบ้างที่พบได้จากการตรวจ Ultrasound

ตรวจอัลตร้าชาวด์เช็คความผิดปกติ

การอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound หรือ Ultrasound scanning) คือการตรวจวินิจฉัยโรคโดยการใช้คลื่นเสียงกำลังสูงสะท้อนให้เก...
ดูรายละเอียด

ไทยเจอแล้ว! โควิดสายพันธุ์ย่อย “BA.2.75”
ไทยเจอแล้ว! โควิดสายพันธุ์ย่อย “BA.2.75”
ไทยพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 โอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2.75 คนแรกที่ จ.ตรัง แพทย์ระบุเชื้อรุนแรงกว่าสายพันธุ์ BA.5

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิ...
ดูรายละเอียด

ปวดท้องแบบไหน เสี่ยงนิ่วในถุงน้ำดี
ปวดท้องแบบไหน เสี่ยงนิ่วในถุงน้ำดี
ปวดท้องแบบไหนเสี่ยงนิ่วในถุงน้ำดี

อาการที่สามารถสังเกตได้นั้นไม่ได้มีเพียงการปวดท้องเพียงอย่างเดียว โดยอาการจะมีผลกับระบบทางเดินอาหาร เนื่องจากเกิดการอุดตัน...
ดูรายละเอียด

โควิดไม่ลงปอด แต่ทำไมหายแล้วยังรู้สึกเหนื่อย
โควิดไม่ลงปอด แต่ทำไมหายแล้วยังรู้สึกเหนื่อย
รู้จักภาวะ ‘ลองโควิด’ (LONG COVID)

‘ลองโควิด’ (LONG COVID) หรือเรียกได้อีกอย่างว่า POST-COVID SYNDROME อาจมีอาการคล้ายๆ เดิมที่เคยเป...
ดูรายละเอียด

ตื่นมาปัสสาวะบ่อยกลางคืน ร่างกายกำลังบอกอะไร?
ตื่นมาปัสสาวะบ่อยกลางคืน ร่างกายกำลังบอกอะไร?
กลางคืนตื่นมาปัสสาวะบ่อย ร่างกายกำลังบอกอะไร?

มะเร็งต่อมลูกหมาก ถูกจัดให้เป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับต้นๆ ในผู้ชายไทย และยังคงมีแนวโน้มเพิ...
ดูรายละเอียด

Long Covid คืออะไร ทำไมถึงทำให้ร่างกายแย่ลง
Long Covid คืออะไร ทำไมถึงทำให้ร่างกายแย่ลง
Long Covid คืออะไร ทำไมถึงทำให้ร่างกายแย่ลง

โควิด-19 เป็นโรคติดเชื้อจากไวรัส SARS-CoV-2 ที่มีการระบาดกระจายเป็นวงกว้างตั้งแต่ปี&nb...
ดูรายละเอียด

ทำไมโควิด-19ในเด็ก ถึงต้องการการดูแลที่มากกว่า
ทำไมโควิด-19ในเด็ก ถึงต้องการการดูแลที่มากกว่า
ทำไมโควิด-19ในเด็ก ถึงต้องการการดูแลที่มากกว่า COVID-19 คืออะไร?

COVID-19 คือเชื้อไวรัสทางเดินหายใจ มักเกิดที่ระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง ทำให้เกิดอาการหลอด...
ดูรายละเอียด

ไขคำตอบ! ทำไมไม่จ่าย ยาฟาวิพิราเวียร์ ให้กับผู้ป่วยโควิดทุกคน
ไขคำตอบ! ทำไมไม่จ่าย ยาฟาวิพิราเวียร์ ให้กับผู้ป่วยโควิดทุกคน
ไขคำตอบ! ไม่จ่าย "ยาฟาวิพิราเวียร์" ให้กับผู้ป่วยโควิดทุกคน

กรมการแพทย์ ไขคำตอบเหตุผลไม่จ่ายยาฟาวิพิราเวียร์ ให้ก...
ดูรายละเอียด

อาการโควิดแบบไหน ให้เราดูแล
อาการโควิดแบบไหน ให้เราดูแล
อาการแบบไหน..ให้เราดูแล

2 กลุ่มอาการกับการให้การรักษา Covid-19 กับ โรงพยาบาลวัฒนแพทย์ ตรัง ด้วยสิทธิ์ สปสช.จากทางภาครัฐ มีดังนี้

 1.กลุ่มผู้ป่...

ดูรายละเอียด
การตรวจหานิ่วในถุงน้ำดี
การตรวจหานิ่วในถุงน้ำดี
นิ่วในถุงน้ำดี (Gallstone)  

เป็นโรคในระบบทางเดินน้ำดีที่พบได้บ่อย โดยนิ่วเกิดจากการตกตะกอนของหินปูนหรือคอเลสเตอรอลในน้ำดี อุบัติการ...
ดูรายละเอียด

การส่องกล้องกระเพาะอาหาร
การส่องกล้องกระเพาะอาหาร

 

...

ดูรายละเอียด