มองอะไรก็ไม่ชัด เสี่ยงเบาหวานขึ้นตา

 

โรคเบาหวาน

เบาหวานเกิดจากการที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน ซึ่งสาเหตุมาจากตับอ่อนผลิตอินซูลินไม่เพียงพอ หรือเซลล์ร่างกายไม่ตอบสนองอย่างเหมาะสมต่ออินซูลินที่ร่างกายผลิตอย่างใดอย่างหนึ่ง ทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดไปใช้ได้ หากระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นระยะเวลานานจะทำให้เกิดความผิดปกติของหลอดเลือด ซึ่งส่งผลต่ออวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกายรวมถึง “ดวงตา


รู้จักเบาหวานขึ้นตา

เบาหวานขึ้นตา (Diabetic Retinopathy) เป็นภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานที่อาจเป็นสาเหตุของการสูญเสียการมองเห็นหรือตาบอดได้ในที่สุด โดยเกิดจากการมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน ส่งผลให้หลอดเลือดที่จอตา (Retina) ได้รับความเสียหาย 


ระยะของเบาหวานขึ้นตา

เบาหวานขึ้นตาแบ่งเป็น 2 ระยะตามความรุนแรงของโรค ได้แก่

  1. เบาหวานขึ้นตาระยะเริ่มแรกหรือระยะที่ยังไม่มีหลอดเลือดเกิดใหม่ (Nonproliferative Diabetic Retinopathy: NPDR) เป็นระยะที่ผนังหลอดเลือดที่จอตาไม่แข็งแรง ส่งผลให้หลอดเลือดโป่งพอง อาจทำให้เลือดหรือของเหลวรั่วออกมาในจอตา ทำให้เกิดจอตาบวม ในระยะเริ่มแรกอาจมีอาการเพียงเล็กน้อย หากเกิดหลอดเลือดรั่วบริเวณจุดภาพชัด (Macula) จะทำให้เกิดจุดภาพชัดบวม (Macular Edema) ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการมองเห็น  หากมีการอุดตันของหลอดเลือด อาจทำให้เกิดจอตาหรือจุดภาพชัดขาดเลือด (Macular Ischemia) ส่งผลให้สูญเสียการมองเห็นได้
  2. เบาหวานขึ้นตาระยะก้าวหน้า หรือระยะที่มีหลอดเลือดเกิดใหม่ (Proliferative Diabetic Retinopathy: PDR) เป็นระยะที่หลอดเลือดเกิดการอุดตันจนเลือดไม่สามารถไหลเวียนได้ตามปกติ มีการขาดเลือดที่จอตามากจนเกิดการสร้างหลอดเลือดใหม่ขึ้นมาทดแทน ซึ่งหลอดเลือดที่สร้างขึ้นใหม่เหล่านี้อาจไม่ได้พัฒนาอย่างเหมาะสม มีผนังไม่แข็งแรง เปราะแตกฉีกขาดได้ง่าย ทำให้มีเลือดออกในวุ้นตา เกิดพังผืดดึงรั้งจอตา ซึ่งเป็นสาเหตุให้จอตาลอก (Retinal Detachment) ตามมาได้ หรือถ้าหากเส้นเลือดใหม่ที่เกิดขึ้นไปรบกวนการระบายน้ำออกจากลูกตา ส่งผลให้ความดันตาสูงขึ้น เกิดความเสียหายต่อเส้นประสาทตาและเป็นสาเหตุให้เกิดโรคต้อหิน (Neovascular Glaucoma) ได้

อาการเบาหวานขึ้นตา

ในระยะแรกของเบาหวานขึ้นตาอาจจะไม่มีอาการหรือความผิดปกติในการมองเห็น ทำให้ผู้ป่วยไม่รู้ตัวและละเลยการตรวจตา แต่มารู้ตัวอีกทีเมื่อเบาหวานเริ่มขึ้นตาแล้ว ซึ่งอาจพบอาการต่าง ๆ เช่น

  • มองเห็นจุดหรือเส้นสีดำคล้ายหยากไย่ลอยไปมา
  • มองเห็นภาพบิดเบี้ยว
  • ตามัว การมองเห็นแย่ลง สายตาไม่คงที่
  • แยกแยะสีได้ยากขึ้น
  • เห็นภาพมืดเป็นบางจุด
  • สูญเสียการมองเห็น

***แต่ในบางรายอาจไม่มีอาการผิดปกติเลยแม้อยู่ในระยะรุนแรงแล้วก็ตาม


ตรวจวินิจฉัยเบาหวานขึ้นตา

ผู้ป่วยเบาหวานควรได้รับการตรวจตาและขยายม่านตาตรวจจอตาแม้ไม่มีอาการผิดปกติทางการมองเห็นเพื่อคัดกรองเบาหวานขึ้นตาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หลังการขยายม่านตาตรวจจอตาผู้ป่วยอาจมีอาการตามัวเป็นเวลา 4 – 6 ชั่วโมง ไม่ควรขับขี่ยานพาหนะด้วยตนเองในช่วงเวลาดังกล่าว ควรมีญาติไปด้วย หากไม่พบความผิดปกติควรตรวจตาและขยายม่านตาเป็นประจำปีละ 1 ครั้ง กรณีที่พบเบาหวานขึ้นตาอาจได้รับการรักษาหรือได้รับการตรวจบ่อยขึ้น ทั้งนี้ขึ้นกับระยะของเบาหวานขึ้นตาและความรุนแรงของโรค


รักษาเบาหวานขึ้นตา

  • การรักษาเบาหวานขึ้นตาระยะเริ่มแรก ซึ่งเป็นระยะที่ยังไม่มีหลอดเลือดเกิดใหม่ หรือยังไม่มีการมองเห็นผิดปกติ อาจยังไม่จำเป็นต้องรักษาในทันที การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับน้ำตาลสะสมเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการรักษา รวมทั้งการควบคุมโรคประจำตัวอื่น ๆ เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เพื่อช่วยชะลอความรุนแรงของโรคได้ การตรวจติดตามอาการอย่างใกล้ชิดมากขึ้นจะช่วยให้ตรวจพบความผิดปกติได้เร็วและได้รับการรักษาได้อย่างเหมาะสมทันท่วงที ช่วยลดโอกาสเกิดภาวะของโรคที่รุนแรงและป้องกันการสูญเสียการมองเห็นได้
  • การรักษาเบาหวานขึ้นตาระยะก้าวหน้า ซึ่งเป็นระยะที่มีหลอดเลือดเกิดใหม่ ในระยะนี้ผู้ป่วยอาจต้องได้รับการรักษา ซึ่งแนวทางการรักษา ได้แก่
    • การรักษาด้วยเลเซอร์ เพื่อควบคุมและรักษาการรั่วซึมของหลอดเลือด จอตาขาดเลือด และหลอดเลือดที่ผิดปกติ อย่างไรก็ตามการรักษาด้วยเลเซอร์มักจะไม่ทำให้การมองเห็นดีขึ้น เพียงแค่ช่วยชะลอหรือป้องกันไม่ให้สายตาแย่ลงเท่านั้น
    • การฉีดยา Anti – Vascular Endothelial Growth Factor (Anti – VEGF) เข้าวุ้นตา เพื่อยับยั้งการเกิดของหลอดเลือดงอกใหม่ ลดการบวมของจุดภาพชัด ซึ่งจะช่วยให้การมองเห็นไม่แย่ลง หรืออาจทำให้การมองเห็นดีขึ้นได้ นอกจากนี้ยากลุ่ม
      สเตียรอยด์ (Steroids) อาจเป็นยาทางเลือกในผู้ป่วยบางราย
    • การผ่าตัดวุ้นตา (Vitrectomy) ในกรณีผู้ป่วยมีเลือดออกในวุ้นตามาก หรือมีพังผืดดึงรั้งจอตา ทำให้จอตาบวม จอตาหลุดลอกหรือฉีกขาด เพื่อป้องกันการสูญเสียการมองเห็นถาวร

ป้องกันสูญเสียการมองเห็นจากเบาหวานขึ้นตา

  • ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ระดับความดันโลหิต และระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • งดสูบบุหรี่และงดดื่มแอลกอฮอล์
  • สังเกตความเปลี่ยนแปลงของการมองเห็นและควรไปพบจักษุแพทย์โดยด่วน หากพบว่ามีการมองเห็นเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน เช่น ตามัว มองไม่ชัด หรือมองเห็นเป็นจุดดำ เป็นต้น
  • ผู้ป่วยเบาหวานควรไปพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจตาเป็นประจำทุกปี ถึงแม้ว่าการมองเห็นจะยังคงเป็นปกติก็ตาม

แพ็กเกจและโปรโมชั่น

บัตรสมาชิก WATTANAPAT THE EXCLUSIVE
5,000

บาท

ดูรายละเอียด
แพ็กเกจตรวจคัดกรองเบาหวาน
300

บาท

ดูรายละเอียด
แพ็กเกจตรวจสุขภาพจากอาการโควิด ในระยะยาว (Long Covid Checkup)
990

บาท

ดูรายละเอียด
รวมฮิตแพ็กเกจวัคซีนป้องกันโรค
700

บาท

ดูรายละเอียด
โปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปี Annual Check-Up
2,299

บาท

ดูรายละเอียด
การบำบัดด้วยออกซิเจนความดันสูง (HBOT)
2,500

บาท

ดูรายละเอียด

บทความเพื่อสุขภาพ

5 อาหารเจที่อาจเสี่ยงทำลายสุขภาพมากกว่าที่คาดคิด
5 อาหารเจที่อาจเสี่ยงทำลายสุขภาพมากกว่าที่คาดคิด
5 อาหารเจที่อาจเสี่ยงทำลายสุขภาพมากกว่าที่คาดคิด

แม้ว่าการเลือกบริโภคอาหารเจจะเป็นทางเลือกที่หลายคนมองว่าเป็นแนวทางในการรักษาสุขภาพ ด้วยการหลีกเลี่ยงการบริโ...
ดูรายละเอียด

 รู้จัก RSV ภัยเงียบที่มาคู่กับหน้าฝน ของผู้ใหญ่
รู้จัก RSV ภัยเงียบที่มาคู่กับหน้าฝน ของผู้ใหญ่
 รู้จัก RSV ภัยเงียบที่มาคู่กับหน้าฝน ของผู้ใหญ่

ในยุคที่โรคระบาดเกิดขึ้นบ่อยครั้ง การตระหนักถึงสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญมาก โดยเฉพาะโรคร้ายแรงบางโรคมั...
ดูรายละเอียด

ไขมันมันในเลือดสูงทำคุณเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด
ไขมันมันในเลือดสูงทำคุณเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด

 

เลือกอ่าน หัวข้อที่สนใจ • บทนำภาวะไขมันในเลือดสูงและความเสี่ยงของโรค...

ดูรายละเอียด
ความดันโลหิตสูง เสี่ยงโรคอะไรบ้าง
ความดันโลหิตสูง เสี่ยงโรคอะไรบ้าง
ความดันโลหิตสูง เสี่ยงโรคอะไรบ้าง

รู้จักโรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) เป็นภาวะที่ความดันโลหิตในหลอดเลือดสูงเกินระดับป...
ดูรายละเอียด

เสริมภูมิคุ้มกันเพื่อผู้ใหญ่และผู้สูงวัย ด้วยวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ และปอดอักเสบ (IPD)
เสริมภูมิคุ้มกันเพื่อผู้ใหญ่และผู้สูงวัย ด้วยวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ และปอดอักเสบ (IPD)
สูงวัยอุ่นใจ วัคซีนไข้หวัดใหญ่และวัคซีนป้องกันปอดอักเสบช่วยได้

การฉีดวัคซีนเพื่อเสริมภูมิคุ้มกันเราอาจจะมองว่าเป็นเรื่องสำหรับเด็ก แต่จริงๆ แล้...
ดูรายละเอียด

ทำไมผู้สูงวัย จึงควรได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่แบบ High Dose
ทำไมผู้สูงวัย จึงควรได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่แบบ High Dose

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ สำหรับผู้สูงอายุ

เพราะผู้สูงวัยนับเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายจากโรคไข้หวัดใหญ่สูงกว่าคนวัยหนุ่มสาว โดยจากสถิติพบว่า ผู้สู...
ดูรายละเอียด

อัลตร้าซาวด์ช่องท้องบอกอะไรเราได้บ้าง
อัลตร้าซาวด์ช่องท้องบอกอะไรเราได้บ้าง
อัลตร้าซาวด์ช่องท้อง 1 ที ตรวจดูอวัยวะในร่างกายได้เป็น 10 แล้วอัลตร้าซาวด์ช่องท้องนี้บอกโรคอะไรเราได้บ้าง

อัลตร้าซา...
ดูรายละเอียด

นอนกรนอันตรายกว่าที่คิด
นอนกรนอันตรายกว่าที่คิด
ปัญหานอนกรน อาจมีอะไรซ่อนอยู่ ตรวจดูให้รู้ด้วย Sleep Test   นอนกรนเกิดจากอะไร?

การนอนกรน เกิดจากทางเดินหายใจส่วนบนถูกอุดกั้น โดยในขณะที่เราน...
ดูรายละเอียด

สัญญาณไม่มีเสียงเตือน ของโรคที่พบบ่อยในผู้สูงวัย
สัญญาณไม่มีเสียงเตือน ของโรคที่พบบ่อยในผู้สูงวัย
สัญญาณเตือนที่ผู้สูงอายุควรตรวจสุขภาพ

ระบบต่างๆ ในร่างกายผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น ทำให้อาการแสดงของโรคหรือปัญหาสุขภาพหลายๆ อย่างไม่...
ดูรายละเอียด

มะเร็งชนิดไหนผู้ชายเสี่ยงเป็นมากกว่า
มะเร็งชนิดไหนผู้ชายเสี่ยงเป็นมากกว่า
โรคมะเร็งร้ายแรง ที่ผู้ชายเสี่ยงที่สุด 3 อันดับ        โรคมะเร็ง ถือเป็นโรคยอดฮิตมีอัตราการเสียชีวิตสูง และยังเป็นโรคที่ไม่ว่าใครก็...
ดูรายละเอียด
เปิดสถิติโรคมะเร็งในผู้หญิงและผู้ชายไทย ใครเสี่ยงมากกว่า มะเร็งอะไรพบมากที่สุด
เปิดสถิติโรคมะเร็งในผู้หญิงและผู้ชายไทย ใครเสี่ยงมากกว่า มะเร็งอะไรพบมากที่สุด

โรคมะเร็ง เป็นอีกหนึ่งโรคร้ายที่คร่าชีวิตคนไทยมาแล้วหลายชีวิต และยังมีอัตราการเกิดโรคที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เรามาสรุปข้อมูลสถิติ จาก สถาบันมะเร็งแห่งช...
ดูรายละเอียด

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ฉีดไว้กันอะไรได้บ้าง
วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ฉีดไว้กันอะไรได้บ้าง
วัคซีนไข้หวัดใหญ่สำคัญยังไง แล้วทำไมเราถึงควรฉีด

โรคไข้หวัดใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza Virus) ซึ่งมีอยู่ 3 สายพันธุ์ คือ A , B และ...

ดูรายละเอียด
เลือกแพ็กเกจตรวจสุขภาพยังไง ให้ใช่สำหรับคุณ
เลือกแพ็กเกจตรวจสุขภาพยังไง ให้ใช่สำหรับคุณ
เทคนิคการเลือกแพ็กเกจตรวจสุขภาพ...ที่ใช่สำหรับคุณ

ปัญหาเรื่องสุขภาพอาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา การตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอจะเป็นการช่วยหาสาเหตุของโรคหรือควา...
ดูรายละเอียด

หน้าฝนต้องระวัง โรคไข้ดิน
หน้าฝนต้องระวัง โรคไข้ดิน

 

โรคไข้ดิน หรือโรคเมลิออยด์ (Melioidosis) พบมากในฤดูฝนเป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในดินและน้ำสามารถพบได้ทั่วประเทศไทย ความรุ...
ดูรายละเอียด

ทำไมต้องตรวจสุขภาพประจำปี
ทำไมต้องตรวจสุขภาพประจำปี

ตรวจสุขภาพ สำคัญกว่าที่คิด

ด้วยมลพิษมากมายในปัจจุบัน ส่งผลให้สุขภาพของคนเราย่ำแย่ตามไปด้วย หลายคนมองข้ามความสำคัญของการตรวจสุขภาพ เพราะเห็นว่าร่า...
ดูรายละเอียด

โรคไหนบ้างที่พบได้จากการตรวจ Ultrasound
โรคไหนบ้างที่พบได้จากการตรวจ Ultrasound

ตรวจอัลตร้าชาวด์เช็คความผิดปกติ

การอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound หรือ Ultrasound scanning) คือการตรวจวินิจฉัยโรคโดยการใช้คลื่นเสียงกำลังสูงสะท้อนให้เก...
ดูรายละเอียด

ไทยเจอแล้ว! โควิดสายพันธุ์ย่อย “BA.2.75”
ไทยเจอแล้ว! โควิดสายพันธุ์ย่อย “BA.2.75”
ไทยพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 โอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2.75 คนแรกที่ จ.ตรัง แพทย์ระบุเชื้อรุนแรงกว่าสายพันธุ์ BA.5

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิ...
ดูรายละเอียด

ปวดท้องแบบไหน เสี่ยงนิ่วในถุงน้ำดี
ปวดท้องแบบไหน เสี่ยงนิ่วในถุงน้ำดี
ปวดท้องแบบไหนเสี่ยงนิ่วในถุงน้ำดี

อาการที่สามารถสังเกตได้นั้นไม่ได้มีเพียงการปวดท้องเพียงอย่างเดียว โดยอาการจะมีผลกับระบบทางเดินอาหาร เนื่องจากเกิดการอุดตัน...
ดูรายละเอียด

สารต้านอนุมูลอิสระ คืออะไร
สารต้านอนุมูลอิสระ คืออะไร
สารต้านอนุมูลอิสระกับระบบภูมิคุ้มกัน

​“สารต้านอนุมูลอิสระ” หลายคนน่าจะเคยได้ยินคำนี้กันมาบ้าง โดยเฉพาะสายคลีน สายออกกำลังกายจะรู้ดี หรือภาษ...
ดูรายละเอียด

โควิดไม่ลงปอด แต่ทำไมหายแล้วยังรู้สึกเหนื่อย
โควิดไม่ลงปอด แต่ทำไมหายแล้วยังรู้สึกเหนื่อย
รู้จักภาวะ ‘ลองโควิด’ (LONG COVID)

‘ลองโควิด’ (LONG COVID) หรือเรียกได้อีกอย่างว่า POST-COVID SYNDROME อาจมีอาการคล้ายๆ เดิมที่เคยเป...
ดูรายละเอียด

เพราะเบาหวาน ไม่ได้มีแค่เรื่องน้ำตาล
เพราะเบาหวาน ไม่ได้มีแค่เรื่องน้ำตาล
เพราะเบาหวาน ไม่ได้มีแค่เรื่องน้ำตาล ทำความรู้จักชนิดของเบาหวาน

โรคเบาหวานแบ่งออกเป็น 4 ชนิด คือ

เบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากก...
ดูรายละเอียด

ตื่นมาปัสสาวะบ่อยกลางคืน ร่างกายกำลังบอกอะไร?
ตื่นมาปัสสาวะบ่อยกลางคืน ร่างกายกำลังบอกอะไร?
กลางคืนตื่นมาปัสสาวะบ่อย ร่างกายกำลังบอกอะไร?

มะเร็งต่อมลูกหมาก ถูกจัดให้เป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับต้นๆ ในผู้ชายไทย และยังคงมีแนวโน้มเพิ...
ดูรายละเอียด

Long Covid คืออะไร ทำไมถึงทำให้ร่างกายแย่ลง
Long Covid คืออะไร ทำไมถึงทำให้ร่างกายแย่ลง
Long Covid คืออะไร ทำไมถึงทำให้ร่างกายแย่ลง

โควิด-19 เป็นโรคติดเชื้อจากไวรัส SARS-CoV-2 ที่มีการระบาดกระจายเป็นวงกว้างตั้งแต่ปี&nb...
ดูรายละเอียด

ทำไมโควิด-19ในเด็ก ถึงต้องการการดูแลที่มากกว่า
ทำไมโควิด-19ในเด็ก ถึงต้องการการดูแลที่มากกว่า
ทำไมโควิด-19ในเด็ก ถึงต้องการการดูแลที่มากกว่า COVID-19 คืออะไร?

COVID-19 คือเชื้อไวรัสทางเดินหายใจ มักเกิดที่ระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง ทำให้เกิดอาการหลอด...
ดูรายละเอียด

ไขคำตอบ! ทำไมไม่จ่าย ยาฟาวิพิราเวียร์ ให้กับผู้ป่วยโควิดทุกคน
ไขคำตอบ! ทำไมไม่จ่าย ยาฟาวิพิราเวียร์ ให้กับผู้ป่วยโควิดทุกคน
ไขคำตอบ! ไม่จ่าย "ยาฟาวิพิราเวียร์" ให้กับผู้ป่วยโควิดทุกคน

กรมการแพทย์ ไขคำตอบเหตุผลไม่จ่ายยาฟาวิพิราเวียร์ ให้ก...
ดูรายละเอียด

อาการโควิดแบบไหน ให้เราดูแล
อาการโควิดแบบไหน ให้เราดูแล
อาการแบบไหน..ให้เราดูแล

2 กลุ่มอาการกับการให้การรักษา Covid-19 กับ โรงพยาบาลวัฒนแพทย์ ตรัง ด้วยสิทธิ์ สปสช.จากทางภาครัฐ มีดังนี้

 1.กลุ่มผู้ป่...

ดูรายละเอียด
การตรวจหานิ่วในถุงน้ำดี
การตรวจหานิ่วในถุงน้ำดี
นิ่วในถุงน้ำดี (Gallstone)  

เป็นโรคในระบบทางเดินน้ำดีที่พบได้บ่อย โดยนิ่วเกิดจากการตกตะกอนของหินปูนหรือคอเลสเตอรอลในน้ำดี อุบัติการ...
ดูรายละเอียด

การส่องกล้องกระเพาะอาหาร
การส่องกล้องกระเพาะอาหาร

 

...

ดูรายละเอียด