โรคไข้เลือดออก รู้จักอาการและการรักษา

ไข้เลือดออก (Dengue fever) รู้จักอาการและการรักษา


ยุงลายวายร้ายไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออก (Dengue fever) คือโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue virus) ที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค โดยที่ผู้เป็นไข้เลือดออกแรก ๆ อาจไม่มีการแสดงอาการใด ๆ จนกระทั้งเริ่มมีไข้สูง มากปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ อาเจียน มีจ้ำเลือดหรือจุดเลือดออกเล็ก ๆ ตามผิวหนัง ไข้เลือดออกรุนแรงอาจทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว ช็อก และเสียชีวิต ควรรีบพบแพทย์โดยเร็ว

อาการของโรคไข้เลือดออก ต้องระวัง

ในผู้ที่เป็นโรคไข้เลือดออกครั้งแรก 90% มักไม่แสดงอาการ หรือมีอาการเริ่มแรกที่ไม่รุนแรงคล้ายและเหมือนไข้หวัดธรรมดา โดยจะเริ่มมีอาการใน 4-10 วัน ซึ่งเป็นระยะที่พ้นระยะฟักตัวของไวรัสไปแล้ว และสิ่งที่น่ากลัวในโรคไข้เลือดออกนี้คือ ถ้าหากเราเป็นโรคไข้เลือดออกเป็นครั้งที่ 2 และเป็นการติดเชื้อไวรัสเดงกีที่ต่างสายพันธุ์ที่เป็นในครั้งแรก อาการของโรคไข้เลือดออกในครั้งที่ 2 อาจพัฒนาไปสู่การเป็นโรคไข้เลือดออกรุนแรงได้เลย โดยอาการไข้เลือดออกแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้

 



ระยะไข้สูง (Febrile phase)

เป็นระยะที่ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสเดงกีมีไข้สูงลอยแบบเฉียบพลัน 39-40 องศาเซลเซียส ติดต่อกัน 2-7 วัน โดยมีอาการคล้ายไข้หวัดแต่ไม่มีอาการไอและไม่มีน้ำมูก และมักไม่ตอบสนองต่อยาลดไข้ ระยะไข้สูงมีอาการดังต่อไปนี้

  • 1.ปวดศีรษะ หน้าแดง
  • 2.ปวดเบ้าตา ปวดรอบกระบอกตา
  • 3.คลื่นไส้ อาเจียน
  • 4.ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  • 5.เบื่ออาหาร
  • 6.ปวดข้อ หรือปวดกระดูก
  • 7.มีจ้ำเลือด หรือผื่นแดงขึ้นที่บริเวณผิวหนังร่างกาย
  • 8.อาจมีอาการปวดท้อง (บริเวณชายโครงขวา) กดเจ็บบริเวณลิ้นปี่

ระยะวิกฤต (Critical phase)

เป็นระยะที่ 2 ของโรคไข้เลือดออกหรือประมาณ 3-7 วันหลังระยะไข้สูง ซึ่งผู้ที่ติดเชื้อส่วนใหญ่จะไม่ได้เข้าสู่ระยะนี้ ระยะวิกฤตเป็นระยะที่ต้องเฝ้าระวังมากที่สุด เนื่องจากอาจเกิดภาวะช็อกจากไข้สูง หรือช็อกจากอาการเลือดออกที่อวัยวะภายในที่เกิดจากสารน้ำในหลอดเลือดรั่วไหลออกนอกหลอดเลือด เช่น น้ำเหลืองรั่วไหลไปยังช่องปอด ตับ หรือช่องท้อง ทำให้ความดันโลหิตต่ำ ชัก หมดสติ และหัวใจหยุดเต้นที่นำไปสู่การเสียชีวิตในที่สุด ระยะวิกฤตมีอาการดังต่อไปนี้

  • 1.ปวดท้องอย่างรุนแรง
  • 2.คลื่นไส้ อาเจียนอย่างต่อเนื่อง เบื่ออาหาร
  • 3.ภาวะเลือดออกผิดปกติ
  • 4.เลือดออกตามไรฟัน เลือดกำเดาไหล
  • 5.ปัสสาวะหรืออุจจาระปนเลือด หรืออาเจียนเป็นเลือด
  • 6.มีจ้ำเลือด หรือจุดเลือดออกเล็ก ๆ ตามผิวหนัง
  • 7.หายใจลำบาก หายใจถี่เร็ว
  • 8.อาการกระสับกระส่าย กระวนกระวาย
  • 9.เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย มีอาการซึม
  • 10.มือเท้าเย็น ตัวเย็น
  • 11.มีเหงื่อออกตามตัว
  • 12.ปัสสาวะน้อย
  • 13.ชีพจรเบาเร็ว
  • 14.ประจำเดือนมามาก หรือมานานผิดปกติ (ในเพศหญิง)
  • 15.ภาวะช็อกจากอาการขาดน้ำหรือเสียเลือด ที่มักเกิดขึ้นใน 3-8 วันหลังจากที่มีไข้สูงลอย
  • 16.ไข้ลดลดลงอย่างรวดเร็ว
  • 18.เลือดออกในทางเดินอาหาร
  • 19.ความดันโลหิตไม่สม่ำเสมอ วัดชีพจรไม่ได้ หรือความดันโลหิตลดต่ำในผู้ที่มีอาการรุนแรง
  • 20.ระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว หรือภาวะช็อก
  • 21.อาจเสียชีวิต

ระยะฟื้นตัว (Recovery phase)

เป็นระยะสุดท้ายของการเป็นไข้เลือดออก ผู้ที่ผ่านพ้นระยะไข้สูงที่ไม่ได้เข้าสู่ระยะวิกฤต หรือผู้ที่ผ่านพ้นระยะวิกฤตมาแล้ว 1 - 2 วันจะเข้าสู่ระยะฟื้นตัว เป็นช่วงที่ร่างกายค่อย ๆ ฟื้นตัว อาการต่าง ๆ ของโรคไข้เลือดออกค่อย ๆ ดีขึ้นตามลำดับ เส้นเลือดกลับมาทำงานตามปกติ โดยหากสังเกตเห็นผื่นแดงสาก ๆ เป็นวงสีขาวขึ้นตามร่างกายแสดงว่ากำลังจะหายจากโรค เป็นระยะที่มีความปลอดภัย ระยะฟื้นตัวมีสัญญาณดังต่อไปนี้

  • 1.อาการทั่วไปดีขึ้นตามลำดับ
  • 2.ไข้ลดลง อุณหภูมิร่างกายเป็นปกติ
  • 3.ชีพจรเต้นแรงขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น
  • 4.ปัสสาวะออกมากขึ้น
  • 5.ภาวะตับโตลดลงภายใน 1-2 สัปดาห์
  • 6.อยากรับประทานอาหารมากขึ้น
  • 7.มีผื่นสีแดงเล็ก ๆ สาก ๆ เป็นวงสีขาวขึ้นตามร่างกาย

ไข้เลือดออก เป็นซ้ำได้หรือไม่?

ตลอดชีวิต มนุษย์สามารถติดเชื้อไวรัสเดงกีทั้ง 4 สายพันธุ์ซ้ำได้หลายครั้ง โดยหากเคยติดเชื้อสายพันธ์ใดสายพันธ์หนึ่งแล้ว ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัสสายพันธุ์นั้นไปตลอดชีวิตแต่จะไม่มีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสเดงกีในอีก 3 สายพันธุ์ทีเหลือหรือมีภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์อื่นเพียงชั่วคราว โดยอาการของโรคไข้เลือดออกจะทวีความรุนแรงขึ้นในการเป็นไข้เลือดออกครั้งที่ 2, 3 หรือ 4


การป้องกัน ไข้เลือดออกมีวิธีการอย่างไร?

  • 1.ป้องกันตนเองไม่ให้ยุงกัด เช่น การทายากันยุง สวมใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว และสวมถุงเท้า หรือการใส่เสื้อผ้าที่มีการเคลือบสารกันยุง
  • 2.ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารป้องกันยุง (Mosquito repellents) ที่มีส่วนผสมของสาร DEET เพื่อป้องกันยุง
  • 3.กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดยเฉพาะบริเวณน้ำนิ่งและน้ำขัง ทั้งในและรอบบริเวณบ้าน ใช้ฝาปิดครอบภาชนะหรือถังขยะ
  • 4.ปิดหน้าต่างไม่ให้ยุงเข้า ติดมุ้งลวดที่ประตู หรือนอนในมุ้งลวดเพื่อกันยุง
  • 5.การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออก 4 สายพันธุ์ ชนิดใหม่ (New 4 serotype dengue fever vaccine) ซึ่งเป็นวัคซีนป้องกันไวรัสเดงกีรุ่นล่าสุดที่ถูกพัฒนาให้สามารถป้องกันได้ครอบคลุมทั้ง 4 สายพันธุ์ โดยสามารถเข้ารับการฉีดได้ตั้งแต่อายุ 4-60 ปี ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันร่างกายเป็นปกติ รวมถึงคุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครองที่มีบุตรหลานอายุตั้งแต่ 4 ปี ขึ้นไป สามารถพาบุตรหลานและทุกคนในครอบครัวเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกได้ที่โรงพยาบาลทุกแห่งที่มีวัคซีนไว้คอยบริการ

วัคซีนไข้เลือดออก

ในปัจจุบัน ไข้เลือดออกสามารถป้องกันได้โดยการเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออก ซึ่งเป็นวัคซีนป้องกันไวรัสเดงกีที่ครอบคลุมทั้ง 4 สายพันธุ์ โดยสามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 4 ปี-60 ปี ทั้งในคนที่เคยเป็น หรือไม่เคยเป็นไข้เลือดออกมาก่อนโดยไม่จำเป็นเจาะเลือดหาภูมิต้านทาน วัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออก 4 สายพันธุ์ ชนิดใหม่ เป็นวัคซีนที่มีความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคไข้เลือดออกได้ถึง 80.2% ช่วยลดโอกาสการเป็นโรคไข้เลือดออกซ้ำ และช่วยป้องกันการนอนโรงพยาบาลได้ถึง 90.4%


การปฐมพยาบาลไข้เลือดออกเบื้องต้น มีวิธีการอย่างไร?

  • 1.ทานยาแก้ปวด ลดไข้กลุ่มพาราเซตามอน หรือ ยาอะเซตามีโนเฟน ห้ามทานยาแอสไพริน ไอบูโพรเฟน หรือยากลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID) เพราะอาจทำให้มีเลือดออกมากขึ้น
  • 2.จิบน้ำเกลือแร่โอ อาร์ เอส (ORS) เพื่อชดเชยการสูญเสียน้ำในร่างกาย โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการอาเจียนอย่างต่อเนื่อง
  • 3.เช็ดตัวเป็นระยะด้วยน้ำอุ่น เพื่อช่วยลดอุณหภูมิในร่างกาย
  • 4.ทานอาหารอ่อน อาหารที่ย่อยง่าย และดื่มน้ำให้เพียงพอเพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ
  • 5.หมั่นสังเกตอาการ หากมีไข้ขึ้นสูง และไม่ตอบสนองต่อยาแก้ปวด ควรรีบพบแพทย์

แพ็กเกจและโปรโมชั่น

วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี (IPD Vaccine)
2,899

บาท

ดูรายละเอียด
แพ็กเกจตรวจภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
2,499

บาท

ดูรายละเอียด
แพ็กเกจวัคซีนเด็ก ชุดเหมาจ่าย
6,599

บาท

ดูรายละเอียด
รวมฮิตแพ็กเกจวัคซีนป้องกันโรค
700

บาท

ดูรายละเอียด

บทความเพื่อสุขภาพ

ทำความรู้จัก ไอกรน ภัยร้ายของเด็กเล็ก ที่พ่อแม่ต้องระวัง
ทำความรู้จัก ไอกรน ภัยร้ายของเด็กเล็ก ที่พ่อแม่ต้องระวัง
“ไอกรน” โรคติดต่อที่ทำให้ไอไม่หยุด ที่พ่อแม่ต้องเฝ้าระวัง!

หากลูกน้อยของคุณพ่อคุณแม่มีอาการไอแห้งๆ ไข้ต่ำๆ ติดต่อกันนานหลายวัน ต้องระวัง &...
ดูรายละเอียด

รวมทริคดีๆ ให้คุณพ่อ คุณแม่ ดูแลสุขภาพลูก สู้เปิดเรียนปลายฝน ต้นหนาว
รวมทริคดีๆ ให้คุณพ่อ คุณแม่ ดูแลสุขภาพลูก สู้เปิดเรียนปลายฝน ต้นหนาว
รวมทริคดีๆ ให้คุณพ่อ คุณแม่ ดูแลสุขภาพลูก สู้เปิดเรียนปลายฝน ต้นหนาว

เมื่ออากาศเปลี่ยนแปลงจากฤดูฝนเป็นฤดูหนาว สภาพร่างกายของเด็กๆ ยังอาจปรับตัวไม่ทัน ...
ดูรายละเอียด

 รู้จัก RSV ภัยเงียบที่มาคู่กับหน้าฝน ของผู้ใหญ่
รู้จัก RSV ภัยเงียบที่มาคู่กับหน้าฝน ของผู้ใหญ่
 รู้จัก RSV ภัยเงียบที่มาคู่กับหน้าฝน ของผู้ใหญ่

ในยุคที่โรคระบาดเกิดขึ้นบ่อยครั้ง การตระหนักถึงสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญมาก โดยเฉพาะโรคร้ายแรงบางโรคมั...
ดูรายละเอียด

ทำไมไข้หวัดใหญ่ในเด็ก ถึงอันตรายกว่าผู้ใหญ่
ทำไมไข้หวัดใหญ่ในเด็ก ถึงอันตรายกว่าผู้ใหญ่
ทำไมไข้หวัดใหญ่ในเด็ก ถึงอันตรายกว่าผู้ใหญ่  

ไข้หวัดใหญ่สามารถส่งผลกระทบต่อทุกวัย แต่ในเด็ก โดยเฉพาะกลุ่มเด็กเล็ก พวกเขามีความเสี่ยงมากกว่าผู้ใหญ...
ดูรายละเอียด

เช็กอาการแรกเริ่มของ RSV สัญญาณแรกที่บ่งบอกว่าลูกน้อยอาจติดเชื้อไวรัส
เช็กอาการแรกเริ่มของ RSV สัญญาณแรกที่บ่งบอกว่าลูกน้อยอาจติดเชื้อไวรัส

เมื่อเริ่มเข้าช่วงหน้าฝน ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่อาการป่วยมากมายจะกลับมา ทั้งไข้ ไอ หวัด ไ...
ดูรายละเอียด

ทำอย่างไรดี เมื่อลูกไอบ่อย
ทำอย่างไรดี เมื่อลูกไอบ่อย
ทำอย่างไรดี เมื่อลูกไอบ่อย

การที่ลูกไอบ่อยเป็นเรื่องที่ทำให้พ่อแม่หลายคนกังวลใจ แต่การรู้จักสาเหตุและวิธีการดูแลที่เหมาะสมสามารถช่...
ดูรายละเอียด

ไขมันมันในเลือดสูงทำคุณเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด
ไขมันมันในเลือดสูงทำคุณเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด

 

เลือกอ่าน หัวข้อที่สนใจ • บทนำภาวะไขมันในเลือดสูงและความเสี่ยงของโรค...

ดูรายละเอียด
สนุกกับกิจกรรมพร้อมพัฒนาลูกน้อยอย่างถูกหลัก ด้วย กิจกรรมบำบัด
สนุกกับกิจกรรมพร้อมพัฒนาลูกน้อยอย่างถูกหลัก ด้วย กิจกรรมบำบัด
กิจกรรมบำบัด กระตุ้นพัฒนาการเด็ก ทำอะไรได้บ้าง กิจกรรมบำบัด กระตุ้นพัฒนาการเด็ก มีอะไรบ้างและช่วยพัฒนาการด้านใด (Treatment Program) 1. Child Developme...
ดูรายละเอียด
ความดันโลหิตสูง เสี่ยงโรคอะไรบ้าง
ความดันโลหิตสูง เสี่ยงโรคอะไรบ้าง
ความดันโลหิตสูง เสี่ยงโรคอะไรบ้าง

รู้จักโรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) เป็นภาวะที่ความดันโลหิตในหลอดเลือดสูงเกินระดับป...
ดูรายละเอียด

กิจกรรมบำบัด สำคัญอย่างไรสำหรับเด็กๆ
กิจกรรมบำบัด สำคัญอย่างไรสำหรับเด็กๆ
พัฒนาประสาทสัมผัสองค์รวมของเด็ก ด้วยกิจกรรมบำบัด

กิจกรรมบำบัดคืออะไร? 

กิจกรรมบำบัดเป็นการบำบัดรักษา เพื่อฟื้นฟูความสามารถในการทำกิจวัตรป...
ดูรายละเอียด

ทำอย่างไรเมื่อลูกติดไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ A
ทำอย่างไรเมื่อลูกติดไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ A
ไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ เอช1 เอ็น1 (Influenza A (H1N1)

เป็นโรคที่แพร่ติดต่อระหว่างคนสู่คน พบที่ประเทศเม็กซิโก และสหรั...
ดูรายละเอียด

อัลตร้าซาวด์ช่องท้องบอกอะไรเราได้บ้าง
อัลตร้าซาวด์ช่องท้องบอกอะไรเราได้บ้าง
อัลตร้าซาวด์ช่องท้อง 1 ที ตรวจดูอวัยวะในร่างกายได้เป็น 10 แล้วอัลตร้าซาวด์ช่องท้องนี้บอกโรคอะไรเราได้บ้าง

อัลตร้าซา...
ดูรายละเอียด

3 ท่าเคาะปอดเมื่อลูกมีเสมหะ
3 ท่าเคาะปอดเมื่อลูกมีเสมหะ
3 ท่าเคาะปอด ลดเสมหะลูกน้อย ที่พ่อแม่ต้องรู้

อาการไอ และมีเสมหะ เป็นหนึ่งในอาการป่วยยอดฮิตที่ลูกน้อยเป็นอยู่ประจำ คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจรู้สึกกังวลใจเวลาที...
ดูรายละเอียด

นอนกรนอันตรายกว่าที่คิด
นอนกรนอันตรายกว่าที่คิด
ปัญหานอนกรน อาจมีอะไรซ่อนอยู่ ตรวจดูให้รู้ด้วย Sleep Test   นอนกรนเกิดจากอะไร?

การนอนกรน เกิดจากทางเดินหายใจส่วนบนถูกอุดกั้น โดยในขณะที่เราน...
ดูรายละเอียด

มะเร็งชนิดไหนผู้ชายเสี่ยงเป็นมากกว่า
มะเร็งชนิดไหนผู้ชายเสี่ยงเป็นมากกว่า
โรคมะเร็งร้ายแรง ที่ผู้ชายเสี่ยงที่สุด 3 อันดับ        โรคมะเร็ง ถือเป็นโรคยอดฮิตมีอัตราการเสียชีวิตสูง และยังเป็นโรคที่ไม่ว่าใครก็...
ดูรายละเอียด
เปิดสถิติโรคมะเร็งในผู้หญิงและผู้ชายไทย ใครเสี่ยงมากกว่า มะเร็งอะไรพบมากที่สุด
เปิดสถิติโรคมะเร็งในผู้หญิงและผู้ชายไทย ใครเสี่ยงมากกว่า มะเร็งอะไรพบมากที่สุด

โรคมะเร็ง เป็นอีกหนึ่งโรคร้ายที่คร่าชีวิตคนไทยมาแล้วหลายชีวิต และยังมีอัตราการเกิดโรคที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เรามาสรุปข้อมูลสถิติ จาก สถาบันมะเร็งแห่งช...
ดูรายละเอียด

โรคหอบหืดในเด็ก สังเกตจากอะไร?
โรคหอบหืดในเด็ก สังเกตจากอะไร?
จะรู้ได้อย่างไร ว่าลูกเป็นโรคหอบหืด การสังเกตอาการ และการรักษา

โรคหอบหืด คืออะไร?

โรคหืด คือ โรคที่หลอดลมมีการตีบแคบฉับพลัน เนื่องจากหลอดลมมีก...
ดูรายละเอียด

หน้าฝนต้องระวัง โรคไข้ดิน
หน้าฝนต้องระวัง โรคไข้ดิน

 

โรคไข้ดิน หรือโรคเมลิออยด์ (Melioidosis) พบมากในฤดูฝนเป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในดินและน้ำสามารถพบได้ทั่วประเทศไทย ความรุ...
ดูรายละเอียด

โรคไหนบ้างที่พบได้จากการตรวจ Ultrasound
โรคไหนบ้างที่พบได้จากการตรวจ Ultrasound

ตรวจอัลตร้าชาวด์เช็คความผิดปกติ

การอัลตร้าซาวด์ (Ultrasound หรือ Ultrasound scanning) คือการตรวจวินิจฉัยโรคโดยการใช้คลื่นเสียงกำลังสูงสะท้อนให้เก...
ดูรายละเอียด

เมนูแนะนำ เมื่อลูกน้อยเป็นโรค มือ เท้า ปาก
เมนูแนะนำ เมื่อลูกน้อยเป็นโรค มือ เท้า ปาก
โรคมือเท้าปาก (Hand Foot Mouth Disease) 

เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส สายพันธุ์ที่พบบ่อย ได้แก่ Coxsackievirus A16 และ Enterovirus 71 ซึ่งโรคนี้มั...
ดูรายละเอียด

ไทยเจอแล้ว! โควิดสายพันธุ์ย่อย “BA.2.75”
ไทยเจอแล้ว! โควิดสายพันธุ์ย่อย “BA.2.75”
ไทยพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 โอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2.75 คนแรกที่ จ.ตรัง แพทย์ระบุเชื้อรุนแรงกว่าสายพันธุ์ BA.5

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิ...
ดูรายละเอียด

สถิติการป่วยของเด็กในช่วง 3 เดือนที่
สถิติการป่วยของเด็กในช่วง 3 เดือนที่ "วัฒนแพทย์"
สถิติการป่วยของเด็กในช่วง 3 เดือนที่ "วัฒนแพทย์"

เมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูฝนและเปิดเทอมไปเป็นที่เรียบร้อย สถิติผู้ป่วยที่เป็นเด็กจึงมีจำนวนเพิ่มขึ้น โรงพยาบาลวั...
ดูรายละเอียด

อาการแพ้อาหารในเด็ก เรื่องเล็กๆที่ไม่ควรละเลย
อาการแพ้อาหารในเด็ก เรื่องเล็กๆที่ไม่ควรละเลย

เมื่อลูกน้อยอายุ 4-6 เดือน เป็นวัยที่ควรได้รับอาหารเสริมนอกเหนือจากนมแม่ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่อาจมีความกังวลเรื่องการแพ้อาหารในเด็กเล็ก ไม่มั่นใจว่าลูกแพ้อาหารอะไ...
ดูรายละเอียด

ปวดท้องแบบไหน เสี่ยงนิ่วในถุงน้ำดี
ปวดท้องแบบไหน เสี่ยงนิ่วในถุงน้ำดี
ปวดท้องแบบไหนเสี่ยงนิ่วในถุงน้ำดี

อาการที่สามารถสังเกตได้นั้นไม่ได้มีเพียงการปวดท้องเพียงอย่างเดียว โดยอาการจะมีผลกับระบบทางเดินอาหาร เนื่องจากเกิดการอุดตัน...
ดูรายละเอียด

ภาวะซีด หรือโลหิตจางในเด็ก
ภาวะซีด หรือโลหิตจางในเด็ก
ภาวะซีด หรือโลหิตจางในเด็ก

ปัญหาภาวะซีดในเด็ก ถือเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน ซึ่งอาจเกิดจากการขาดสารอาหาร พ่อแม่อาจแปลกใจว่าทำไมลูกถึงมีภาวะขาดสารอาหารไ...
ดูรายละเอียด

โควิดไม่ลงปอด แต่ทำไมหายแล้วยังรู้สึกเหนื่อย
โควิดไม่ลงปอด แต่ทำไมหายแล้วยังรู้สึกเหนื่อย
รู้จักภาวะ ‘ลองโควิด’ (LONG COVID)

‘ลองโควิด’ (LONG COVID) หรือเรียกได้อีกอย่างว่า POST-COVID SYNDROME อาจมีอาการคล้ายๆ เดิมที่เคยเป...
ดูรายละเอียด

วัคซีนเสริมสำหรับเด็ก สำคัญเหมือนกับวัคซีน หลักหรือไม่
วัคซีนเสริมสำหรับเด็ก สำคัญเหมือนกับวัคซีน หลักหรือไม่
วัคซีนเสริมสำหรับเด็ก สำคัญเหมือนกับวัคซีน หลักหรือไม่

 ปัจจุบันวัคซีนสำหรับลูกน้อยมีทั้งหมด 2 กลุ่ม คือ วัคซีนที่อยู่ในแผนเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค ของ...
ดูรายละเอียด

ตื่นมาปัสสาวะบ่อยกลางคืน ร่างกายกำลังบอกอะไร?
ตื่นมาปัสสาวะบ่อยกลางคืน ร่างกายกำลังบอกอะไร?
กลางคืนตื่นมาปัสสาวะบ่อย ร่างกายกำลังบอกอะไร?

มะเร็งต่อมลูกหมาก ถูกจัดให้เป็นมะเร็งที่พบบ่อยเป็นอันดับต้นๆ ในผู้ชายไทย และยังคงมีแนวโน้มเพิ...
ดูรายละเอียด

Long Covid คืออะไร ทำไมถึงทำให้ร่างกายแย่ลง
Long Covid คืออะไร ทำไมถึงทำให้ร่างกายแย่ลง
Long Covid คืออะไร ทำไมถึงทำให้ร่างกายแย่ลง

โควิด-19 เป็นโรคติดเชื้อจากไวรัส SARS-CoV-2 ที่มีการระบาดกระจายเป็นวงกว้างตั้งแต่ปี&nb...
ดูรายละเอียด

ทำไมโควิด-19ในเด็ก ถึงต้องการการดูแลที่มากกว่า
ทำไมโควิด-19ในเด็ก ถึงต้องการการดูแลที่มากกว่า
ทำไมโควิด-19ในเด็ก ถึงต้องการการดูแลที่มากกว่า COVID-19 คืออะไร?

COVID-19 คือเชื้อไวรัสทางเดินหายใจ มักเกิดที่ระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง ทำให้เกิดอาการหลอด...
ดูรายละเอียด

MIS-C คืออะไรทำไมอันตรายถึงชีวิด
MIS-C คืออะไรทำไมอันตรายถึงชีวิด
MIS-C คืออะไร ทำไมอันตรายถึงชีวิต

MIS-C มักเกิดขึ้น 2-6 สัปดาห์หลังจากเด็กและวัยรุ่นหายป่วยจากโควิด-19 อายุเฉลี่ยของเด็กที่มีรายงานคือ 8 ปี นอกจากน...
ดูรายละเอียด

ไขคำตอบ! ทำไมไม่จ่าย ยาฟาวิพิราเวียร์ ให้กับผู้ป่วยโควิดทุกคน
ไขคำตอบ! ทำไมไม่จ่าย ยาฟาวิพิราเวียร์ ให้กับผู้ป่วยโควิดทุกคน
ไขคำตอบ! ไม่จ่าย "ยาฟาวิพิราเวียร์" ให้กับผู้ป่วยโควิดทุกคน

กรมการแพทย์ ไขคำตอบเหตุผลไม่จ่ายยาฟาวิพิราเวียร์ ให้ก...
ดูรายละเอียด

อาการโควิดแบบไหน ให้เราดูแล
อาการโควิดแบบไหน ให้เราดูแล
อาการแบบไหน..ให้เราดูแล

2 กลุ่มอาการกับการให้การรักษา Covid-19 กับ โรงพยาบาลวัฒนแพทย์ ตรัง ด้วยสิทธิ์ สปสช.จากทางภาครัฐ มีดังนี้

 1.กลุ่มผู้ป่...

ดูรายละเอียด
การตรวจหานิ่วในถุงน้ำดี
การตรวจหานิ่วในถุงน้ำดี
นิ่วในถุงน้ำดี (Gallstone)  

เป็นโรคในระบบทางเดินน้ำดีที่พบได้บ่อย โดยนิ่วเกิดจากการตกตะกอนของหินปูนหรือคอเลสเตอรอลในน้ำดี อุบัติการ...
ดูรายละเอียด

ภัยร้ายของลูกน้อย โรคไวรัส RSV
ภัยร้ายของลูกน้อย โรคไวรัส RSV

 

...

ดูรายละเอียด
การส่องกล้องกระเพาะอาหาร
การส่องกล้องกระเพาะอาหาร

 

...

ดูรายละเอียด